อาการปัสสาวะเล็ดหรืออาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เรียกอีกอย่างว่า อาการช้ำรั่ว โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง ซึ่งส่งผลให้ความสามารถการทำงานของหูรูดท่อปัสสาวะลดลงไปด้วย ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือมีปัสสาวะเล็ดโดยไม่ได้ตั้งใจเมื่อมีการออกแรงทำกิจกรรมที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัว
หรืออาการปัสสาวะเล็ดขณะไอ จาม คือประเภทของอาการปัสสาวะเล็ดที่พบบ่อยมากที่สุดในผู้หญิงทั้งวัยสาว และวัยสูงอายุ ซึ่งเกิดจากแรงดันที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะหดตัวอย่างฉับพลัน ทำให้เกิดปัสสาวะเล็ด เช่น การไอ การจาม หรือการวิ่ง
หรืออาการปัสสาวะราด มักเกิดกับผู้สูงอายุ ที่มักจะปวดปัสสาวะอย่างกระทันหัน และไม่สามารถกลั้นไว้ได้
อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบผสม คือ อาการที่ผู้ป่วยมีทั้งภาวะ
ปัสสาวะเล็ดในลักษณะต่าง ๆ รวมกันมากกว่า 1 ประเภท
เช่น มีปัสสาวะเล็ดออกมาเมื่อไอหรือจามร่วมกับปัสสาวะเล็ดทันที
เป็นต้น
ปัสสาวะเล็ดเมื่อไอ จาม อาเจียน หรือเล่นกีฬา
อาการ : ปัสสาวะเล็ดเวลาไอ จาม อาเจียน เล่นกีฬา เช่น วิ่ง กระโดดเชือก
สาเหตุ : เกิดจากอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Stress urinary incontinence) ที่ไม่รุนแรง
วิธีแก้ : บรรเทาลงได้โดยการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ควบคู่ไปกับการใช้แผ่นซึมซับปัสสาวะเล็ดโดยเฉพาะ หากมีอาการมากขึ้นจนรบกวนชีวิตประจำวันควรปรึกษาแพทย์
ปวดปัสสาวะขึ้นมาฉับพลัน และไม่สามารถกลั้นได้ จนปัสสาวะเล็ด
อาการ : ปวดปัสสาวะขึ้นมาฉับพลันและไม่สามารถกลั้นได้ จนปัสสาวะเล็ด
สาเหตุ : เกิดจากอาการกลั้นปัสสาวะลำบาก (Urine urinary incontinence) ทำให้ปวดปัสสาวะอย่างรุนแรงเมื่อเปลี่ยนท่าทาง เช่น การลุกอย่างรวดเร็ว หรือเดินขึ้นบันได หรือเมื่อร่างกายสัมผัสกับความเย็น เช่น อยู่ในห้องแอร์ หรือเมื่อสัมผัสน้ำ
วิธีแก้ : ทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่ตลอด รวมไปถึงฝึกกระเพาะปัสสาวะโดยการพยายามกลั้นปัสสาวะ เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะค่อยๆขยายขนาดออก ซึ่งเรียกว่า การฝึกกระเพาะปัสสาวะ อย่างไรก็ตามหากทำเกิน 1 เดือนแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นแนะนำให้เข้ารับการตรวจจากแพทย์เฉพาะทาง
ปวดปัสสาวะถี่ หรือปวดปัสสาวะแต่ปัสสาวะไม่ออก
อาการ: ปวดปัสสาวะถี่ หรือปวดปัสสาวะแต่บางครั้งก็ไม่มีปัสสาวะออกมา
สาเหตุ : 1. เกิดขึ้นจากภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวเร็วเกินไป
2. การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ
วิธีแก้ : ฝึกกระเพาะปัสสาวะโดยการพยายามกลั้นปัสสาวะ เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะขยายตัว โดยหากเริ่มปวดปัสสาวะให้ขมิบกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดเพื่อให้ร่างกายส่งสัญญาณไปยังกระเพาะปัสสาวะให้หยุดหดตัวทำให้กระเพาะปัสสาวะคลายตัวลงและรู้สึกปวดปัสสาวะน้อยลง
ปัสสาวะเล็ดในช่วงการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วงไตรมาสสุดท้าย
อาการ : เกิดอาการปัสสาวะเล็ดในช่วงการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วงไตรมาสสุดท้าย
สาเหตุ : เกิดจากการที่มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้กระดูกเชิงกรานแอ่นลงไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ อีกทั้งร่างกายมีการเตรียมการคลอดทารก บริเวณรอบๆของช่องคลอดและท่อปัสสาวะก็จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครรภ์โตขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 28 ไปจนถึงคลอดเสร็จจะเกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้ง่ายขึ้น
วิธีแก้ : แนะนำให้ใช้แผ่นซึมซับปัสสาวะเล็ดเพื่อป้องกันการซึมเปื้อน หรือใช้ที่พยุงครรภ์เพื่อช่วยยึดให้มดลูกไม่เคลื่อนตัวจึงสามารถป้องกันการกดทับกระเพาะปัสสาวะได้
ปัสสาวะเล็ดหลังจากคลอดบุตร
อาการ : มีอาการปัสสาวะเล็ดหลังคลอดบุตร เช่น การไอ จาม ยกของหนัก การออกกำลังกาย
สาเหตุ : จากแรงกดของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรเกิดความอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้ยาก ถึงแม้ว่าอาการเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติ แต่คุณแม่ที่ใช้วิธีผ่าตัดคลอดก็สามารถ
เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน
วิธีแก้ : อาการปัสสาวะเล็ดหลังคลอดไม่ได้เป็นเรื่องผิดแปลกแต่อย่างใด สามารถหายได้เองตามธรรมชาติ แนะนำให้ออกกำลังกาย
เพื่อให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีความแข็งแรงขึ้น ทั้งในช่วงก่อนและหลังคลอด เพื่อช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะหลังคลอด
*1 มีส่วนผสมของโพลิเมอร์ที่ช่วยลดกลิ่มแอมโมเนีย
*2 ไม่รวมถึงการระคายเคืองส่วนบุคคลและการใช้แผ่นซึมซับปัสสาวะเล็ดเป็นเวลานาน
*3 ทดสอบในรุ่น 50 ซีซี ด้วยการเทน้ำปัสสาวะเทียม 50 ซีซี ซึมซับเร็วภายใน 10 วินาที
อาการปัสสาวะเล็ดที่เกิดจากความผิดปกติของตัวท่อปัสสาวะนั้น ไม่ได้เป็นโรค
ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่จะก่อให้เกิดความรำคาญ โดยความรุนแรงของตัวโรค
ในแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ด ได้แก่
การตั้งครรภ์ ภาวะอ้วน ยกของหนักเป็นประจำ อายุที่มากขึ้น
รวมถึงการรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ
- การรักษาแบบประคับประคอง
เช่น การใส่ห่วงพยุงอุ้งเชิงกราน (Pessary) รวมถึงการใช้ยา ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้ผล เป็นที่น่าพอใจนัก หรือแม้แต่การฝึกขมิบอุ้งเชิงกราน (Pelvic floor muscle training) - การใช้เลเซอร์ในช่องคลอด
ได้ผลในรายที่อาการไม่รุนแรง ข้อเสียคือมีราคาแพงและต้องกลับมาทำซ้ำ - การผ่าตัดใส่แผ่นตาข่าย
เพื่อยกพยุงท่อปัสสาวะ ปัจจุบันเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น - ใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซึมซับปัสสาวะ
ในปัจจุบันมีกลุ่มสินค้าที่ทำออกมาตรงตามสภาพอาการมากขึ้น โดยสามารถนำมาใช้
ในสถานกาณ์ต่างๆได้ เช่น เมื่อออกจากบ้าน ออกกำลังกาย เพื่อช่วยคลายความกังวล
จากอาการปัสสาวะเล็ด