หลักจิตวิทยาในการควบคุมสมาธิ
และการตัดสินใจของผู้หญิงในช่วงที่มีประจำเดือน
รับประทานธาตุเหล็กให้มากและใช้สมองอย่างชาญฉลาด
ช่วงที่มีประจำเดือน หากรู้ตัวว่าทำพลาดบ่อยก็ให้ลองใช้การชี้นิ้วตรวจสอบและเช็คซ้ำ นอกจากนี้ ควรพยายามรับประทานธาตุเหล็กและวิตามินเพิ่ม
เพื่อเสริมส่วนที่ขาดหายไป ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสมอง
ระหว่างเรียนหนังสือหรือทำงานบางครั้งก็รู้สึกไม่มีสมาธิ หรือลืมจดบันทึกเรื่องสำคัญบ้าง ทำกาแฟหกบ้าง ซึ่งความผิดพลาดเหล่านี้ เรียกว่า Human error อย่างไรก็ตาม
ในช่วงมีประจำเดือนอาจมีอาการโลหิตจางทำให้การทำงานของสมองลดต่ำลง จึงเกิดความผิดพลาดได้ง่าย โดยเฉพาะหากเป็นความผิดพลาดซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ตัว
ก็จะทำให้เรารู้สึกผิดมากขึ้น หากเรารู้ตัวว่าระหว่างมีประจำเดือนจะทำผิดพลาดง่ายขึ้น ก็ควรระมัดระวัง ใช้การชี้นิ้วมือหรือการสัมผัส และมีสติทบทวนสิ่งต่างๆ
เพื่อลดความผิดพลาดให้น้อยที่สุด และอาจรับประทานธาตุเหล็กและวิตามินเสริม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้
ทฤษฎี Magical Number 7±2
การที่คนเราจำอะไรได้ในช่วงขณะหนึ่ง พื้นที่ความจำส่วนนี้เรียกว่า ความจำระยะสั้น นักจิตวิทยาชาวอเมริกาชื่อ George Miller ค้นพบว่า มนุษย์เราจะสามารถจำเรื่องต่างๆ
ในช่วงขณะหนึ่งอยู่ที่ประมาณ 7±2 เรื่อง กล่าวคือ จะสามารถจำได้ประมาณ 5-9 เรื่อง ซึ่งความจำระยะสั้นมีขีดจำกัด ดังนั้น วิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการหลงลืมก็คือ
การทบทวนอยู่ตลอดเวลา เช่น การพูดซ้ำไปซ้ำมาหรือการใช้นิ้วชี้หรือสัมผัส เป็นวิธีในการตรวจสอบ เพื่อที่จะทำให้มีสติรู้ตัว ไม่หลงลืมสิ่งต่างๆได้ง่าย
ป้องกันการลืมด้วยธาตุเหล็กและวิตามินบีจากลูกพรุน
ช่วงมีประจำเดือนสารอาหารที่จะไปหล่อเลี้ยงสมองผ่านทางเลือดจะน้อยลง ทำให้หลงลืมง่ายขึ้น นอกจากปริมาณเลือดที่จะลดลงแล้ว
คาดว่ามีสาเหตุมาจากวิตามินบีไม่เพียงพอด้วย
ในกรณีดังกล่าวลูกพรุนเป็นอาหารที่มีผลดี เนื่องจากอุดมไปด้วยธาตุเหล็กซึ่งจะช่วยเสริมสร้างเลือดและมีวิตามินบี อีกทั้งยังมีวิตามินอีในปริมาณมาก ซึ่งมีประโยชน์ในการต้านอนุมูนอิสระ
เราอาจซื้อลูกพรุนแห้งห่อเล็กๆ ติดกระเป๋าไว้ก็น่าจะดี การที่เราได้รู้สึกว่ารับประทานอาหารที่ดีก็จะมีผลต่อจิตใจและช่วยให้รู้สึกสบายใจด้วย
การแบ่งความไว้วางใจของมนุษย์ตามระดับความรู้สึกตัวออกเป็น 5 ระดับ เราเรียกว่า Phase Theory
Phase 0 ระดับที่ไม่มีความรู้สึกตัว เช่น เวลานอนหลับ
Phase 1 ระดับที่รู้สึกเบลอ เนื่องจากเหนื่อยหรือสะลึมสะลือ
Phase 2 ระดับปกติซึ่งอยู่ในสภาพผ่อนคลาย
Phase 3 ระดับปกติซึ่งสมองทำงานอย่างกระฉับกระเฉงและทำงานอยู่ในสภาวะดี
Phase 4 ระดับที่ตึงเครียดจนเกินไปทำให้รู้สึกแย่จนถอนหายใจ
สภาพที่จะเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด (สามารถไว้วางใจได้มากที่สุด) ก็คือ Phase 3
การที่เราออกเสียงขณะตรวจสอบหรือใช้นิ้วมือช่วยในการตรวจสอบเป็นวิธีที่ดีซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพของระดับความรู้สึกตัวใน Phase 3 ดีต่อความงามด้วย แนะนำให้ทำลองทำดูนะคะ
เคล็ดลับที่มีผลต่อจิตใจ “Mind Wondering”
ระหว่างที่อ่านหนังสือ ทำอาหารหรือทำกิจกรรมอื่นๆ บางครั้งอยู่ดีๆ เราก็คิดถึงเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกันขึ้นมา ซึ่งคือ อาการใจลอย นักจิตวิทยาชาวอเมริกาชื่อ Jonathan Schooler กล่าวไว้ว่า
อาการใจลอยมีความเกี่ยวข้องกับไอเดียใหม่ๆ ด้วย แม้ว่าช่วงที่ใจลอยอาจมีการทำผิดพลาดอยู่บ้าง แต่ก็ไม่จำเป็นว่าจะเกิดผลด้านลบเสมอไป หากเราพักสมองซักระยะ
เราอาจจะมีไอเดียใหม่ๆ ออกมาก็ได้ เมื่อเสร็จงานแล้วก็พักผ่อนและลองสนุกกับการใจลอยดู เราอาจจะทำให้มีไอเดียใหม่ๆ เกิดขึ้นมาก็ได้