1. หน้าหลัก
  2. เคล็ดลับน่ารู้ สำหรับผู้หญิง
  3. วาไรตี้ เรื่องเกี่ยวกับผู้หญิง
  4. โรคต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการและวิธีการรักษา

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  วิธีรักษาโรค ติดเชื้อภายใน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  วิธีรักษาโรค ติดเชื้อภายใน

โรคต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการป้องกันที่ถูกวิธี

โรคต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Disease - STD)

โรค STD เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อหรือแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว จึงควรที่จะต้องระมัดระวัง

เรามาเรียนรู้การป้องกันและวิธีการรักษากันเถอะ

โรค STD มีลักษณะอย่างไร

เป็นโรคที่ติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ แต่เนื่องจากแบคทีเรียและจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุมีหลายชนิด ทำให้อาการและวิธีการรักษาแตกต่างกันออกไป

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ดังนี้

ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา Candida

ลักษณะของโรค เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Candida โดยเฉพาะช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

เช่น ช่วงที่ไม่สบายจะทำให้เชื้อเพิ่มจำนวนขึ้น

อาการ คันบริเวณจุดซ่อนเร้นและช่องคลอดมาก ปริมาณตกขาว หรือระดูขาวเพิ่มขึ้น

และมีลักษณะคล้ายครีมข้น เป็นก้อน และอวัยวะเพศอาจแดงและเกิดการอักเสบ

การรักษา ใช้ยาเหน็บที่มีตัวยาต้านเชื้อรา


คลาไมเดีย

ลักษณะของโรค มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Chlamydia trachomatis ไม่เพียงแต่การมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น แต่การทำ Oral sex ก็อาจทำให้ติดเชื้อที่เนื้อเยื่อในลำคอได้

นอกจากนี้หากมีอาการอักเสบของท่อนำไข่ ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เป็นหมันได้

อาการ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ อาจรู้สึกปวดท้อง เจ็บเวลาปัสสาวะและมีตกขาว หรือระดูขาวเพิ่มมากขึ้น

เมื่ออาการลุกลามจะปวดท้องและเป็นไข้ เนื่องจากเยื่อบุช่องท้องอักเสบ อาจติดเชื้อที่คอทำให้เกิดการอักเสบ บริเวณจมูกและคอหรือต่อมทอนซิลอักเสบ

การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะ


ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อโปรโตซัว (Trichomonas vaginitis)

ลักษณะของโรค เกิดอาการช่องคลอดอักเสบเนื่องจากมีเชื้อโปรโตชัว (Trichomonas vaginitis) เชื้อนี้สามารถอาศัยอยู่ในผู้ชายได้เช่นกัน

ลักษณะเฉพาะของโรค คือ สามารถติดเชื้อระหว่างกันได้ง่าย

การรักษา ใช้ยาเหน็บที่มีตัวยาต้านเชื้อ Trichomonas vaginitis


โรคเริม (Herpes)

ลักษณะของโรค เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Herpes เมื่อติดเชื้อแล้วแม้ว่าอาการจะหายไป แต่ไวรัสก็ยังแอบซ่อนอยู่ในร่างกาย และมีโอกาสกลับมาเป็นอีกเมื่อร่างกายอ่อนแอ เช่น เวลามีประจำเดือน

อาการ การติดเชื้อช่วงแรกจะมีอาการคันเล็กน้อย 3-7 วันบริเวณจุดซ่อนเร้น หลังจากนั้นจะเกิดเป็นตุ่มน้ำ และมีอาการเจ็บเมื่อตุ่มน้ำแตก และจะรู้สึกเจ็บมากขณะปัสสาวะ

การรักษา ทาครีมที่มีตัวยาแก้ปวดและตัวยาแก้อักเสบ ยาต้านไวรัส (ยาน้ำรับประทาน ฉีดยา ยาทา)


หูดหงอนไก่

ลักษณะของโรค เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) (ส่วนใหญ่ HPV สายพันธุ์ 6 และ 11)

โดยการมีเพศสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เข้าข่ายมีเพศสัมพันธ์ มีระยะเวลาฟักตัวนาน ส่วนใหญ่จะมีอาการหลังจากติดเชื้อแล้ว 1 เดือนถึงครึ่งปี ทำให้บางครั้งไม่ทราบว่าติดเชื้อตั้งแต่เมื่อไหร่

กลุ่มไวรัสนี้เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกด้วย (ส่วนใหญ่ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18)

อาการ

ช่วงแรกจะมีหูดเกิดขึ้นบริเวณปากช่องคลอด แคมเล็ก และบริเวณใกล้ทวาร เมื่อขยายบริเวณออกไป

จะมีอาการเจ็บเวลาปัสสาวะหรือเวลามีเพศสัมพันธ์จะรู้สึกคันและรู้สึกแสบร้อน

การรักษา

ทายา Beselna Cream 5% Podophyllum Alcohol 10% หากไม่หายก็มีวิธีเอาหูดออก

เช่นใช้มีดผ่าตัดไฟฟ้าหรือเลเซอร์ตัดหูดออก หรือใช้ยาแผนโบราณ ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV แล้ว


โรคหนองใน

ลักษณะของโรค เกิดจากการติดเชื้อ Gonococcal bacteria ทางเพศสัมพันธ์ แต่ก็พบว่าในบางครั้งมีผู้หญิงและเด็กซึ่งไม่ค่อยมีภูมิต้านทาน อาจติดเชื้อจากการใช้ห้องน้ำรวมหรือสระว่ายน้ำ

อาการ มีตกขาว หรือระดูขาวเพิ่มขึ้น รู้สึกเจ็บเวลาปัสสาวะและคันบริเวณจุดซ่อนเร้น

การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะ


โรคซิฟิลิส

ลักษณะของโรค เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum

ซึ่งมีความสามารถในการแพร่เชื้อสูง

ลักษณะเฉพาะของโรค คือ ใช้เวลานานในการลุกลามไปทั่วร่างกาย

อาการ ในช่วงแรกแทบจะไม่มีอาการใดๆ อาจมีตุ่มบริเวณแคมใหญ่ แคมเล็ก

หรือบริเวณใกล้กับปากช่องคลอด ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบบวม หลังจากอาการดังกล่าวหายไปแล้วก็จะเป็นผื่นสีแดงกุหลาบ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการที่จะหายไปเองตามธรรมชาติ

จึงมีหลายคนที่ไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อ ทั้งนี้ สามารถวินิจฉัยอาการได้โดยการตรวจเลือด

การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะ


การติดเชื้อ HIV / โรคเอดส์

ลักษณะของโรค เป็นโรคซึ่งเชื้อไวรัส HIV แพร่เชื้อไปยังเซลล์ภูมิต้านทาน เมื่อเชื้อเพิ่มจำนวนขึ้นจะทำให้ภูมิต้านทานต่ำลง สามารถติดเชื้อได้จากเลือด น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด นมแม่

เมื่ออาการลุกลามอาจถึงแก่ชีวิตได้

อาการ หลังติดเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์จะมีอาการคล้ายเป็นหวัด ประมาณ 5-10 ปีจะไม่มีอาการและจะกลายเป็นโรคเอดส์เมื่อเกิดอาการ Carini pneumonia และ อาการ Candidiasis หลังจากเป็นโรคเอดส์แล้ว

ร่างกายจะไม่มีภูมิคุ้มกันทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ จึงอาจเสียชีวิตได้

การรักษา ลดจำนวน HIV-RNA ด้วยยาต้านเชื้อ HIV

โรคอื่นๆ และข้อควรระวัง

ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อโปรโตซัว (Trichomonas vaginitis) และช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา Candida นอกเหนือจากการมีเพศสัมพันธ์แล้วอาจมีกรณีที่ติดเชื้อได้ขณะอาบน้ำ

ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา Candida โรคเริม หูดหงอนไก่ แม้ว่าอาการจะหายไปแล้วแต่เมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายตกลง ก็สามารถเป็นซ้ำได้อีก


เมื่อเป็นโรคเอดส์ หลังจากติดเชื้อ ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีอาการ เป็นโรคที่แสดงอาการหลังจากผ่านช่วงฟักตัวไปแล้ว ดังนั้น จึงมีโอกาสที่จะแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

โดยไม่รู้ตัวซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ หากกังวลว่า ตนเองจะติดเชื้อแม้เพียงเล็กน้อยควรเข้ารับการตรวจที่แผนกสูตินารีโดยเร็ว

การป้องกันและวิธีรักษา

สาวๆควรป้องกันตัวเองทุกครั้ง เมื่อมีเพศสัมพันธ์

ใส่ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์

เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สิ่งสำคัญที่สุดคือ เมื่อมีเพศสัมพันธ์ควรสวมถุงยางอนามัยตั้งแต่แรก ก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ควรปัสสาวะ อาบน้ำชำระร่างกาย

ทำความสะอาดตนเองและควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลหลายคน

นอกจากนี้ อาจมีการติดเชื้อทาง Oral Sex ได้เช่นกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระมัดระวัง


ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ขณะมีเลือดออก

หากมีเพศสัมพันธ์ขณะมีเลือดออกเนื่องจากป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น ช่องคลอดอักเสบ ก็จะทำให้ติดเชื้อไวรัสง่ายขึ้น นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างมีประจำเดือน

และการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารด้วย


ควรรักษาจนกระทั่งหายขาด

ในการเข้ารับการรักษาที่แผนกสูตินารี ก่อนอื่นจะต้องตรวจจุดซ่อนเร้นและตรวจภายในช่องคลอดมดลูก เพื่อดูสภาพของเนื้อเยื่อ มีการเก็บตกขาวหรือระดูขาว เพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อแบคทีเรียไวรัสหรือไม่

และในบางกรณีอาจมีการตรวจเลือดด้วย ส่วนใหญ่แล้วโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

จะรักษาหายได้ในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ก็มีความแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล ควรรักษาอย่างต่อเนื่องจนกว่าอาการจะหายขาด และควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากแพทย์


ควรเข้ารับการรักษาร่วมกับ Partner หรือคู่นอน

เมื่อพบว่าติดเชื้อ อย่าลืมให้ Partner เข้ารับการรักษาด้วย และควรให้ Partner รับการตรวจที่แผนกระบบขับถ่ายด้วย แม้ว่าคุณเองจะมีอาการดีขึ้น แต่หาก Partner ยังคงเป็นโรคอยู่

ก็สามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก สิ่งสำคัญก็คือ การร่วมกันเข้ารักษาและการรักษาจนหายไปพร้อม ๆ กัน

KEEP IN TOUCH WITH US

โรคต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการและวิธีการรักษา

โรคต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการและวิธีการรักษา โรคต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการและวิธีการรักษา