วิธีแก้อารมณ์แปรปรวน เหวี่ยงวีน หรือมองโลกแง่ร้าย
ในช่วงที่มีประจำเดือนด้วยหลักจิตวิทยาง่ายๆ
ผ่อนคลายสมองด้วยการเดินอย่างมีสมาธิ
อาจารย์ Haruka Yoko ที่ปรึกษาด้านจิตวิทยา จะมาสอนเกี่ยวกับ Kokoroe (สิ่งที่ควรใส่ใจ)
มาลองนำการนับก้าวเดิน มีสมาธิกับ “การหายใจ” และ “การเดิน” ไปปรับใช้กันเถอะ
เมื่อเข้าสู่อายุที่เริ่มมีประจำเดือน หลายคนอาจมีประสบการณ์ที่ทำนิสัยไม่ดีกับคุณแม่ซึ่งออกมารับเวลาเรากลับบ้าน ระหว่างกลับจากโรงเรียนหรือกลับจากที่ทำงาน เรามักจะนึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน 1 วัน และมีความคิดในแง่ลบเพิ่มมากขึ้น เช่น “น่าจะทำอย่างนั้น”
“หากพูดอย่างนี้ก็น่าจะดี”
ในครั้งนี้เราจะมาแนะนำ “การเดินอย่างมีสมาธิ” ซึ่งสามารถทำได้ขณะเดินในระยะทางใกล้ๆ โดยการนำวิธี Mind fullness ซึ่งเป็นวิธีการบำบัดด้วยความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy)
ซึ่งกำลังเป็นที่จับตาอยู่ในปัจจุบันเข้ามาใช้ สามารถทำได้โดยนับจำนวนก้าวที่เดิน ให้เดิน 3 ก้าวแล้วหายใจเข้า เดิน 3 ก้าวแล้วหายใจออกวนเวียนไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้มีสมาธิกับการเดินได้
หากนับเลขเยอะแล้วรู้สึกเหนื่อยก็อาจจะนับแค่ 1 2 3 วนเวียนกันไปก็ได้
การนับเลขช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองฝั่งซ้าย
เชื่อกันว่า ความรู้สึกในทางบวกเกิดขึ้นมาจากสมองส่วนหน้าฝั่งซ้าย
โดยความรู้สึกในทางลบเกิดขึ้นมาจากสมองส่วนหน้าฝั่งขวา
นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัย Wisconsin ในสหรัฐอเมริกาชื่อ Richard Devidson ได้ทำการทดลอง
พบว่า ผู้ที่สมองส่วนหน้าฝั่งซ้ายทำงานมาก จะเป็นคนร่าเริงแจ่มใสมองโลกในแง่ดี ส่วนคนที่สมองส่วนหน้าฝั่งขวาทำงานมาก จะเป็นคนที่มีอารมณ์เศร้าง่าย เมื่อเกิดปัญหาก็มักจะหวั่นไหว
การกระตุ้นสมองฝั่งซ้ายทำได้โดยการคิดคำนวนและการนับเลข
ปล่อยวางความรู้สึกที่สับสน โดยการนับลมหายใจและการทำสมาธิขณะเดิน
ประเทศแถบตะวันตกมีวิธีที่ทำกันมาแต่ดั้งเดิม คือ เมื่อนอนไม่หลับให้นับจำนวนแกะ ที่ประเทศอินเดียก็มีวิธีฝึกสมาธิโดยนั่งสมาธิและนับลมหายใจของตัวเอง
ทั้งสองวิธีนี้เป็นการทำให้ความรู้สึกของตัวเองสงบลง โดยการคิดเรื่องง่ายๆและนับลมหายใจ จะช่วยให้ปล่อยวางความรู้สึกที่สับสนได้ ในการนับลมหายใจขณะเดิน หากมีความคิดแทรกเข้ามา
ก็ให้จินตนาการว่า เราได้วางความคิดนั้นลงไว้ตรงนั้นแล้ว ทำให้สามารถปล่อยวางความคิดที่สับสนได้ง่ายขึ้น ผลจากแบบสอบถาม “สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับต่อไปรองจากชีวิตคืออะไร”
พบว่าคำตอบที่ได้รับมากที่สุดจากทั้งนักเรียนและผู้ที่ทำงานแล้วก็คือ “ครอบครัว” การที่เราสามารถแสดงอารมณ์ออกมากับครอบครัวได้อย่างเปิดเผย เพราะมีความไว้วางใจกันสูง
ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก และหากเราสามารถปล่อยวางความหงุดหงิดลงได้ เราก็จะสามารถมีช่วงเวลาที่ดีของครอบครัวได้มากขึ้น นอกจากวันที่มีประจำเดือนแล้ว เวลาที่รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง
ก็ใช้วิธีนี้เพื่อเปลี่ยนความคิดให้เป็นบวกได้
เคล็ดลับที่มีผลต่อจิตใจ “Mindfulness”
Mindfulness เป็นคำภาษาอังกฤษ มีความหมายว่า “ความรู้สึกตัว” ในภาษาบาลี ซึ่งเป็นคำที่พระพุทธเจ้าใช้
การสอนให้รักษาสภาพจิตใจให้มีสติ แม้ว่าคำสอนดังกล่าวจะผ่านมานานกว่า 2,600 ปีแล้ว แต่ก็ได้รับการพิสูจน์ว่า เป็นคำสอนที่มีความเป็นเลิศในทางวิทยาศาสตร์ด้านสมอง จากมหาวิทยาลัย Harvard
และได้รับความสนใจในฐานะแนวทางการรักษาสมัยใหม่ด้วย