1. หน้าหลัก
  2. เคล็ดลับน่ารู้ สำหรับผู้หญิง
  3. PMS
  4. อาการซึมเศร้าในช่วงที่มีประจำเดือน

ซึมเศร้าเวลามีประจำเดือน จิตวิทยา วิธีสร้างความสุขให้ตัวเอง ซึมเศร้าเวลามีประจำเดือน จิตวิทยา วิธีสร้างความสุขให้ตัวเอง

อาการซึมเศร้าในวันนั้นของเดือน
แก้ได้ด้วยการสร้างความสุขให้ตัวเอง

ปรับอารมณ์ซึมเศร้าในช่วงมีประจำเดือนด้วยการทำใจให้เป็น Positive ด้วย list ความสุข 100 ข้อ

อาจารย์ Haruka Yoko ที่ปรึกษาด้านจิตวิทยา จะมาสอนเกี่ยวกับ Kokoroe (สิ่งที่ควรใส่ใจ) ในการปรับความคิดและมุมมองให้อารมณ์ซึมเศร้าหายไปโดยการ เขียนสิ่งที่เป็นความสุขธรรมดาๆ ออกมา 100 ข้อ เมื่อเห็น list ดังกล่าว จะรู้สึกถึงความสุขที่มั่นคงได้และจิตใจก็จะสงบ

เรามักจะพบว่าเวลามีปัญหากับแฟนแล้วเห็นคู่รักคนอื่นดูสนุกสนาน มีความสุข หรือเวลามีปัญหาเรื่องงานแล้วเห็นเพื่อนร่วมงานทำงานอย่างสดใส เวลาก่อนมีประจำเดือน

หรือระหว่างมีประจำเดือนซึ่งสีหน้าไม่ค่อยดี แต่ก็ต้องเจอเพื่อนที่สดใสร่าเริงและสวยอยู่ตลอดเวลา...... ยิ่งเป็นช่วงเวลาที่ไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้ เราก็มักจะเห็นคนอื่นดูมีความสุข

ทำให้ยิ่งรู้สึกเศร้าขึ้นมาบ่อยๆ ในช่วงก่อนมีประจำเดือนหรือช่วงมีประจำเดือนเป็นช่วงที่รู้สึกไม่มีแรงและร้อนใจ ทำให้เรารู้สึกเป็นทุกข์ พอมีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หรือมีเรื่องที่เป็นปมด้อยเข้ามา

สภาวะดังกล่าวเรียกว่า “ กลุ่มอาการเห็นหญ้าข้างบ้านเขียวกว่า” ซึ่งเป็นอาการที่รู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่า ในขณะเดียวกันก็อยากเป็นที่ชื่นชอบของผู้อื่นและอยากได้รับการยอมรับจากผู้อื่น

อีกทั้งการที่โพสต์รูปน่ารักๆ ลงใน SNS และมีคนกด like ให้ ทำให้พยายามถ่ายรูปจนมากเกินไปเพื่อจะได้รับ like อีกก็เป็นอาการในลักษณะเดียวกัน แทนที่จะใส่ใจตัวเอง แต่กลับไปสนใจว่า

“เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นแล้วตัวเองเป็นอย่างไร” หรือ “คนอื่นจะมองเราว่าเป็นอย่างไร” นอกจากคนที่ “มีพฤติกรรมดังกล่าว” หรือ “มีพฤติกรรมดังกล่าวเล็กน้อย” แล้ว คนที่คิดว่า

“ตอนนี้ไม่เป็นไร” ก็น่าจะลองเขียนสิ่งที่เป็นความสุขออกมา 100 ข้อเช่นกัน อาจคิดว่าการเขียน 100 ข้อเป็นเรื่องยาก แต่เราสามารถเขียนเรื่องง่ายๆ ได้ สิ่งสำคัญก็คือ

การพยายามเขียนเกี่ยวกับความสุขที่นึกออกให้มากที่สุด เช่น “กินข้าวอร่อย” “ใช้ชีวิตอย่างแข็งแรง” ”มีเพื่อนที่คุยสนุกด้วยได้” เป็นต้น

การที่รู้สึกอยากเป็นที่รักหรือต้องการการยอมรับจากคนอื่น

จากทฤษฎีบันได 5 ขั้นของความต้องการของ Maslow ความรู้สึกว่า

อยากเป็นที่รักหรืออยากได้การยอมรับจะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการพื้นฐาน

เช่น การนอนหลับ อาหาร และความต้องการด้านความปลอดภัยถูกเติมเต็มแล้ว การที่ความต้องการพื้นฐานซึ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตถูกเติมเต็ม

แล้วก็คือ 'สภาวะที่มีความสุข'

การทำให้เกิดความรู้สึกว่าหญ้าข้างบ้านเขียวขึ้นในจิตใจได้ ความสุขที่มีขึ้นตามปกติ เช่น อาหารอร่อย ห้องอันอบอุ่น การเดินได้ การพูดได้ นั้น เมื่อสูญเสียไปก็จะรู้สึกตกตะลึง เนื่องจากความสุขเหล่านั้น

เป็นเรื่องธรรมดาคล้าย ๆ กับอากาศ ทำให้เรามองข้ามมันไป แต่เมื่อลองเขียนออกมาดูแล้ว 

ก็จะรู้สึกว่า เป็นความสุขที่มั่นคง ซึ่งจะทำให้จิตใจสงบลงได้ หากสามารถหลุดพ้นจากความคิด

ที่ว่า “หากทำเช่นนี้ก็จะ… “จะทำให้มีความสุขได้

 

“เมื่อสามารถเติมเต็มเงื่อนไขได้ก็จะมีความสุข “ “มันจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้”

เราเรียกความคิดนี้ว่า Focusing illusion ซึ่ง Daneil Kahneman เป็นผู้คิดขึ้นมา

เมื่อกล่าวถึงคนที่อาศัยอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย ก็มักจะมีภาพลักษณ์ว่า พวกเขาจะมีชีวิตที่มีความสุขในพื้นที่ที่อบอุ่น แต่ความจริงแล้วพื้นที่ที่ผู้อยู่อาศัยมีความสุขมากที่สุดในอเมริกา 

คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณอากาศหนาว ความสุข คืออะไรนั้น ไม่สามารถกำหนดได้ด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 

ความสุขเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาจากปัจจัยหลายอย่างที่ปะปนกันอยู่

และมีความแตกต่างกันไปของแต่ละคน ดังนั้น จึงไม่ควรเปรียบเทียบกับคนอื่น

แต่ควรใช้วิธีตรวจสอบดูความสุขที่ตัวเราเองมีอยู่ เพื่อสามารถรับรู้ถึงความสุขนั้นได้

 

แม้ว่าเราจะเข้าใจ แต่ก็อดเปรียบเทียบกับคนอื่นและถอนหายใจไม่ได้ ดังนั้น

จึงควรทำ list รายการความสุข 100 ข้อออกมาไว้ในใจและใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาด

 

ลองทำกันดูนะคะ สำหรับคนที่บอกว่าตอนนี้ไม่เป็นไรก็สามารถทำได้

เคล็ดลับที่มีผลต่อจิตใจ “เวลาเจอคนที่ไม่น่ารักกับเราหรือคนที่เรารู้สึกไม่กล้าที่จะเข้าหา”

จากผลการทดลองด้านจิตวิทยาทราบว่า เมื่อถือเครื่องดื่มอุ่น ๆ ในมือขณะเจอผู้อื่น ก็จะทำให้ความรู้สึกต่อบุคคลนั้นอบอุ่นตามไปด้วย ซึ่งเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า

ทฤษฎีจิตสมานกาย (Embodied cognition) เมื่อเราเจอคนที่ไม่น่ารักกับเราหรือคนที่เราไม่กล้าที่จะเข้าหา ให้ลองถือเครื่องดื่มอุ่นๆ ในมือ สัมผัสที่อบอุ่นจะช่วยให้จิตใจรู้สึกอบอุ่นตามไปด้วย

KEEP IN TOUCH WITH US

อาการซึมเศร้าในช่วงที่มีประจำเดือน

อาการซึมเศร้าในช่วงที่มีประจำเดือน อาการซึมเศร้าในช่วงที่มีประจำเดือน