1. หน้าหลัก
  2. เคล็ดลับน่ารู้ สำหรับผู้หญิง
  3. ประจำเดือน วิธีการดูแลตัวเองของผู้หญิง
  4. เตรียมตัวรับมือกับการมีประจำเดือนครั้งแรกกันเถอะ

ประจำเดือน ผ้าอนามัย รอบเดือน ข้อสงสัยประจำเดือน  คำถามที่พบบ่อย ประจำเดือน ผ้าอนามัย รอบเดือน ข้อสงสัยประจำเดือน  คำถามที่พบบ่อย

ถาม-ตอบในเรื่องที่สงสัย เกี่ยวกับการมีประจำเดือนครั้งแรก

Q&A ครั้งแรก

เมื่อเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก หลายๆคนอาจจะมีคำถาม หรือวิตกกังวลเกี่ยวกับการมีประจำเดือน มาคลายความกังวลนี้ไปพร้อมๆกันค่ะ

Q. รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ผิดปกติหรือไม่?

A. ส่วนใหญ่แล้วประจำเดือนครั้งถัดไปจะมาภายใน 25-35วัน โดยนับจากวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งล่าสุด

ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวจะแตกต่างกันไปแต่ละคน บางคนก็มีระยะเวลาที่สั้นกว่านี้ บางคนก็มีระยะเวลาที่ยาวกว่านี้

อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพร่างกายด้วย ดังนั้น จึงไม่ต้องเป็นกังวล

แต่หากประจำเดือนมาก่อนระยะเวลา 25 วัน หรือมาช้ากว่า 45 วัน เป็นเวลาต่อเนื่องหลายๆรอบเดือน ให้ปรึกษาคนในครอบครัวหรือผู้เชี่ยวชาญ


Q. การที่บางครั้งประจำเดือนก็มาวันที่ 13 หรือบางครั้งก็มาวันที่ 30 (นับจากวันแรกประจำเดือนครั้งล่าสุด)

หมายความว่า ร่างกายเราผิดปกติหรือไม่และต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่?

A.ช่วงเริ่มมีประจำเดือนใหม่ ๆ รอบเดือนจะยังไม่คงที่ ดังนั้นกว่ารอบเดือนครั้งต่อไปจะมาถึง

ระยะเวลาก็จะยาวบ้างสั้นบ้างขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน เพราะฉะนั้นรอบเดือนจะสั้นหรือยาวก็ไม่เป็นไร

ไม่ต้องเป็นกังวล แต่ถ้ามีประจำเดือนหลายปีแล้วแต่รอบเดือนก็ยังมาไม่ปกติ ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


Q. มีประจำเดือนต่อเนื่องกันประมาณ 10 วัน ผิดปกติหรือไม่?

A. สำหรับครั้งแรกประจำเดือนจะยังไม่คงที่ บางคนมีแค่ 3 วันแต่บางคนก็มีต่อเนื่องกันถึง 10 วัน

แต่เมื่ออายุประมาณ 20 ปี ประจำเดือนจะเริ่มคงที่และสม่ำเสมอขึ้น ดังนั้นจึงไม่ต้องเป็นกังวล

แต่หากมีประจำเดือนต่อเนื่องเกินจาก 10 วันขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


Q. ช่วงที่มีประจำเดือนจะท้องเสียง่าย อาการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุใด

และจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดอาการท้องเสีย?

A. การท้องเสียช่วงมีประจำเดือน มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ก่อนที่จะมีประจำเดือน

ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของลำไส้จะถูกผลิตออกมาทำให้ท้องผูกได้ง่าย แต่เมื่อประจำเดือนมา ฮอร์โมนดังกล่าวจะลดลง

และฮอร์โมนที่เร่งการทำงานของลำไส้จะถูกผลิตออกมาแทนทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ง่าย

สิ่งสำคัญในการบรรเทาอาการท้องเสียที่มีสาเหตุมาจากประจำเดือน คือ การทำให้ร่างกายอบอุ่น ไม่ทำให้ช่วงท้องเย็น

ใช้ผ้าพันท้องหรือแปะแผ่นร้อนเพื่อทำให้ช่วงท้องอุ่น นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด

เช่น อาหารรสเผ็ด นอกจากนี้อาหารประเภท ชา น้ำตาลที่มีอยู่ในผลไม้และพืชตระกูลถั่ว ก็ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ง่ายเช่นกัน

จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดังกล่าว


Q.เราสามารถมีประจำเดือนช่วงเวลาเดียวกับเพื่อนได้หรือไม่?

A. ช่วงก่อนมีการแข่งขันกีฬา ช่วงสอบ หรือวันก่อนสอบ ทุกคนจะรู้สึกตื่นเต้นในช่วงเวลาเดียวกัน

ความรู้สึกตื่นเต้นนั้น อาจส่งผลให้ประจำเดือนมาเร็วขึ้นหรือมาช้าลงได้ การที่ทุกคนมีประจำเดือนช่วงเดียวกันอาจดูเหมือนกับว่า

การมีประจำเดือนสามารถติดต่อกันได้ แต่ความจริงแล้วประจำเดือนไม่ใช่อาการที่ติดต่อกันได้จึงไม่ต้องกังวล

Q&A เกี่ยวกับปัญหาประจำเดือน

เมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติ สาวๆควรรับมืออย่างไร

Q ประจำเดือนชอบมากระทันหันไม่ทันตั้งตัว มีวิธีไหนบ้างในการรับมือ?

A.ช่วงที่ประจำเดือนมาแรกๆจะยังไม่คงที่ ดังนั้น จึงอาจเป็นเรื่องยากที่จะคาดคะเนช่วงเวลา

เพราะฉะนั้นเมื่อประจำเดือนมาให้พยายามจดบันทึกไว้ เมื่อผ่านไป ระยะเวลาหนึ่งรอบเดือนจะสม่ำเสมอขึ้น ทำให้เราสามารถรู้รอบเดือนของตัวเองได้ นอกจากนี้ ก่อนที่จะมีประจำเดือนประมาณ 2 สัปดาห์ (ช่วงไข่ตก)

จะเริ่มมีตกขาว หรือระดูขาว จึงอาจใช้เป็นสัญญาณบอกล่วงหน้าได้เช่นกัน


Q. ผิดปกติหรือไม่ เมื่อมีเลือดออกในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน?

A. การมีเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยในช่วงไข่ตก

หากมีปริมาณไม่มากไม่ต้องกังวล แต่ถ้ามีปริมาณมากและต่อเนื่องให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


Q. ประจำเดือนมีปริมาณมากผิดปกติหรือไม่?

A. หากประจำเดือนมีปริมาณมากจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยทุกชั่วโมง หรือหลังจากวันที่สามของการมีประจำเดือน ประจำเดือนยังมีปริมาณมากไม่ลดลง อาจเป็นอาการที่เรียกว่าการมีประจำเดือนมากผิดปกติ

ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยเมื่อเริ่มมีประจำเดือน และเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับความสมดุลของฮอร์โมน

อย่างไรก็ดี อาจก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ง่าย ดังนั้น จึงควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ๆ

เช่น ผักโขม ตับ และควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น นม ในกรณีที่ปริมาณของประจำเดือนมากต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


Q. สาเหตุของการปวดประจำเดือนคืออะไร? ช่วยแนะนำวิธีบรรเทาอาการปวดประจำเดือนให้หน่อย!

A. ประจำเดือน คือ เยื่อบุโพรงมดลูกที่ไม่จำเป็นแล้วซึ่งหลุดลอกออกมานอกร่างกายพร้อมกับไข่ที่ไม่ถูกปฏิสนธิและเลือด

เมื่อฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ผลักให้ประจำเดือนออกมาภายนอกร่างกายถูกผลิตออกมามาก

จะทำให้การเคลื่อนตัวของมดลูกมากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องและปวดเอว

นอกจากนี้ผู้หญิงที่อายุน้อยหรือไม่เคยตั้งครรภ์ ปากมดลูกจะแคบทำให้ประจำเดือนไม่สามารถไหลออกมาภายนอกได้อย่างราบรื่น จึงอาจเกิดความรู้สึกปวดได้ นอกจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว การที่ร่างกายมีอุณหภูมิเย็น และเกิดความเครียด

ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการปวดประจำเดือนได้ ดังนั้น จึงควรใช้ชีวิตอย่างสมดุล รับประทานอาหาร ที่ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น

โดยเน้นผักที่มีลักษณะเป็นหัว เช่น แครอท อีกทั้งการใช้ผ้าพันท้องหรือแผ่นแปะร้อนก็สามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้เช่นกัน

Q&A เรื่องผ้าอนามัยที่ช่วยแก้ปัญหากวนใจให้สาวๆในวันนั้นของเดือน

Q. ควรพกผ้าอนามัยไปโรงเรียนกี่แผ่น และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยแค่ไหน?

A. จำนวนครั้งที่เปลี่ยนผ้าอนามัยขึ้นอยู่กับปริมาณประจำเดือนของแต่ละคน และควรเปลี่ยนทุกๆ 3-4 ชั่วโมงเพื่อสุขอนามัยที่ดี

และป้องกันการซึมเปื้อน ดังนั้นควรพกผ้าอนามัยให้เพียงพอเมื่อไปโรงเรียน เช่นไปเรียน 8 ชั่วโมงควรพกผ้าอนามัยอย่างน้อย 3 แผ่น


Q. เราจะป้องกันการซึมเปื้อนได้อย่างไร?

A. เพื่อป้องกันประจำเดือนซึมเปื้อน ให้เปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้งที่มีโอกาส

แนะนำให้เลือกผ้าอนามัยที่มีความยาวเหมาะสมกับสรีระและกิจกรรมที่ทำ

เช่น ความยาว 23 ซม., ความยาว 25 ซม., ความยาว 29 ซม., ความยาว 33 ซม.,ความยาว 35 ซม., ความยาว 42 ซม.

และถ้าหากกังวลมาก แนะนำให้ใช้โซฟี ผ้าอนามัยแบบกางเกง


Q. เพิ่งเริ่มมีประจำเดือนสามารถใช้ผ้าอนามัยแบบสอดได้หรือไม่?

A. คุณสามารถใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเมื่อไหร่ก็ได้ แต่สำหรับผู้เริ่มใช้

แนะนำให้ใช้ โซฟี ซอฟต์ แทมปอน เพราะมีแอปลิเกเตอร์ (Applicator) อุปกรณ์ช่วยสอด

ซึ่งสะดวกและง่ายสำหรับผู้เริ่มใช้ครั้งแรก อีกทั้งการมีแอปลิเกเตอร์ (Applicator)จะทำให้ถูกสุขอนามัยมากยิ่งขึ้น

เพราะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้มือสัมผัสกับช่องคลอดโดยตรง ผู้เริ่มใช้ครั้งแรก แนะนำให้อ่านคู่มือภาษาไทยหลังกล่อง

หรือปรึกษาวิธีการใช้กับคนในครอบครัว

ข้อแนะนำ

  • ไม่ควรใส่ผ้าอนามัยแบบสอดไว้ในช่องคลอดนานเกิน 8 ชั่วโมง
    เพื่อสุขอนามัยควรเปลี่ยนผ้าอนามัยแบบสอดทุก 3-4 ชั่วโมง 
  • ไม่ควรใส่ผ้าอนามัยแบบสอดในวันที่ไม่มีประจำเดือนเพราะช่องคลอดจะแห้งและอาจทำให้รู้สึกเจ็บ

Q&A กลิ่นของประจำเดือน และผ้าอนามัยที่สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้

ผ้าอนามัยที่ดีสามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องกลิ่น และความอับชื้นได้

Q. คนรอบข้างจะได้กลิ่นประจำเดือนหรือไม่?

A. เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ แนะนำให้เปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้งที่มีโอกาส และทำความสะอาดจุดซ้อนเร้นด้วยน้ำสะอาด และเช็ดให้แห้งทุกครั้ง หรือใช้ผ้าอนามัยที่มีคุณสมบัติป้องกันกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น โซฟี ถ่าน ชาร์โคล เฟรช

Q&A ยา และประจำเดือน

Q. หากมีอาการปวดท้องมากในช่วงมีประจำเดือน สามารถรับประทานยาได้หรือไม่?

A. เมื่อมีประจำเดือนกล้ามเนื้อมดลูกจะหดตัวทำให้อาจเกิดอาการปวดท้องได้ ก่อนที่จะรับประทานยาแก้ปวดให้ลองเคลื่อนไหวร่างกาย และทำให้ช่วงท้องอุ่น หรือดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ

ก็อาจจะช่วยบรรเทาอาการได้ หากทำแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ให้ปรึกษาคนในครอบครัว หรือไปพบแพทย์


Q. ยาชนิดใดสามารถทานเพื่อเลื่อนรอบเดือนได้?

A. ไม่แนะนำให้ทานยาเลื่อนรอบเดือน เพราะจะทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ หรือ ไม่สมดุล แต่หากมีความจำเป็นสามารถทานยาคุมกำเนิดเพื่อเลื่อนรอบเดือนได้ โดยแนะนำให้ปรึกษาแพทย์

ทั้งนี้การรับประทานยาคุมกำเนิดจะมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนซึ่งสามารถควบคุมช่วงเวลาที่ไข่ตก แต่บางคนเมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดอาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้หรือมีอาการแพ้ยาได้

KEEP IN TOUCH WITH US

เตรียมตัวรับมือกับการมีประจำเดือนครั้งแรกกันเถอะ

เตรียมตัวรับมือกับการมีประจำเดือนครั้งแรกกันเถอะ เตรียมตัวรับมือกับการมีประจำเดือนครั้งแรกกันเถอะ