เมื่อเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติในวัยทอง ควรทำอย่างไร
สาเหตุและวิธีรับมือเมื่อเลือดออกผิดปกติ
เมื่อเข้าสู่วัยทองระบบภายในของผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ปริมาณประจำเดือนมากขึ้น ประจำเดือนมาบ่อยขึ้น รอบเดือนสั้นลง
ซึ่งภาวะเลือดออกผิดปกติช่วงวัยทองก็เป็นหนึ่งในอาการเหล่านั้นเช่นกัน เมื่อเข้าสู่วัยทองการทำงานของรังไข่จะเริ่มลดน้อยลง
ส่งผลให้มีเลือดออกผิดปกติได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ สาเหตุของการมีเลือดออกผิดปกติไม่เพียงแค่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเท่านั้น
แต่ยังเกิดจากโรคที่อวัยวะอีกด้วย จึงควรระมัดระวัง ต่อไปจะขอแนะนำเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีการรับมือในกรณีที่มีเลือดออกผิดปกติอย่างต่อเนื่อง
แม้ไม่ได้ตั้งครรภ์ก็สามารถเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติได้
สาเหตุต่างๆที่ทำให้มีเลือดออกผิดปกติต่อเนื่องในวัยทอง
สาเหตุหนึ่งของการที่มีเลือดออกผิดปกติอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้ตั้งครรภ์ คือ เลือดที่ออกมาจากการทำงานของร่างกาย ซึ่งเป็นภาวะเลือดออกผิดปกติซึ่งเกิดมาจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน
เนื่องมาจากความเครียด ระยะของไข่ตก และการเข้าสู่วัยทอง เป็นต้น เราไม่จำเป็นต้องกังวลกับการมีเลือดออกผิดปกติ
จากการทำงานของร่างกายเนื่องจากอาการจะหายเองได้ตามธรรมชาติ
หากมีอาการรุนแรง เช่น มีเลือดออกมาปริมาณมาก มีก้อนเลือดออกมามาก เลือดออกอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 2-3 สัปดาห์ หรือเกิดอาการโลหิตจางเนื่องจากเลือดออกมาก
ก็จำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษา
ส่วนมะเร็งมดลูกหรือการอักเสบของช่องคลอดซึ่งเป็นโรคเฉพาะของผู้หญิงและเป็นสาเหตุที่ทำให้มีเลือดออกผิดปกติ จะเรียกว่า เลือดออกผิดปกติที่เกิดจากอวัยวะภายใน ซึ่งจำเป็นต้องรักษาตามอาการ
แต่สำหรับการอักเสบของช่องคลอดหรือปากมดลูกปลิ้น (Cervical ectropion)
คือการมีเลือดออกผิดปกติจากการอักเสบ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ดังนั้น วิธีการรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรค ทั้งนี้ เป็นอาการที่เรื้อรังได้ง่ายซึ่งจะทำให้รักษาได้ยาก
จึงควรเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมที่โรงพยาบาล นอกจากนี้ ก็มีติ่งเนื้อ (Polyp) และอาการเกี่ยวกับเยื่อบุโพรงมดลูก เนื้องอกที่เป็นเนื้องอก
ชนิดดีก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเลือดออกผิดปกติได้ ซึ่งในบางกรณีก็จำเป็นที่จะต้องผ่าตัด นอกจากนี้ การรักษาหลัก
สำหรับอาการเลือดออกผิดปกติจากมะเร็งมดลูก
คือ การผ่าตัดเช่นกัน มะเร็งมดลูกหากตรวจพบในช่วงระยะแรกก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะรักษาให้หายขาดได้โดยการผ่าตัด ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างง่ายและไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาโรคมะเร็ง
(Anti-cancer agent) ดังนั้น หากพบว่ามีเลือดออกผิดปกติจึงควรเข้ารับการตรวจโดยเร็วที่สุด
ในกรณีที่มีเลือดออกผิดปกติในช่วงวัยทองอย่างต่อเนื่อง
เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 45-55 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุหลังหมดประจำเดือนซึ่งเรียกว่า วัยทอง อาจมีปริมาณประจำเดือนหรือจำนวนครั้งมากขึ้นหรือรอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
สาเหตุที่เลือดออกผิดปกติในคนวัยทองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมี 2 ประการ ได้แก่ การเสียสมดุลของฮอร์โมนผู้หญิงและโรคเฉพาะของผู้หญิง
โดยในร่างกายของผู้หญิงนั้น เหยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาขึ้นเพื่อรองรับการตั้งครรภ์ แต่เมื่อไม่เกิดการตั้งครรภ์เยื่อบุก็จะหลุดลอกและถูกขับออกมาภายนอกร่างกาย
พร้อมกับเลือดซึ่งก็คือประจำเดือน ร่างกายจะสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกและการทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาและถูกควบคุมโดยการทำงานของฮอร์โมนผู้หญิง
ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าใกล้ระยะหมดประจำเดือน การทำงานของรังไข่จะลดน้อยลง ทำให้มีประจำเดือน
แต่ไม่มีการไข่ตก (Anovulatory cycle) เมื่อไข่ไม่ตกฮอร์โมนเอสโตรเจนก็จะไม่ถูกผลิตออกมา ทำให้เยี่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น เมื่อหลุดลอกออกมาจึงมีปริมาณเลือดที่ออกมามาก
ส่วนใหญ่เมื่อเข้าสู่วัยทองหลังหมดประจำเดือนแล้วภาวะเลือดออกผิดปกติก็จะหายไป แต่ถ้ามีเลือดออกบ่อยครั้งทำให้เกิดอาการโลหิตจางอย่างหนัก ก็จำเป็นที่จะต้องเข้ารับรักษา
และอาจจะใช้การรักษาด้วยฮอร์โมนร่วมด้วย
หากประจำเดือนไม่มาเป็นระยะเวลา 1 ปีก็สามารถเรียกได้ว่า หมดประจำเดือน
อย่างไรก็ดี การมีเลือดออกผิดปกติในช่วงวัยทองมีความเป็นไปได้ของการเป็นโรคเกี่ยวกับอวัยวะของผู้หญิงด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากมีเลือดออกผิดปกติ
ควรเข้ารับการตรวจที่แผนกสูตินารีให้เร็วที่สุด
โรคที่เกี่ยวกับอาการเลือดออกผิดปกติอย่างต่อเนื่อง
นอกจากการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้ฮอร์โมนขาดความสมดุลแล้ว สาเหตุของการมีเลือดออกผิดปกติอย่างต่อเนื่องก็คือ การที่เลือดออกจากอวัยวะเนื่องจากมีโรคเกี่ยวกับมดลูก เช่น มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งมดลูก เนื้องอกในมดลูก ติ่งเนื้อปากมดลูก
เนื้องอกในมดลูกเป็นเนื้องอกชนิดดีที่พบเจอได้บ่อยในช่วงอายุ 30 - 50 ปี ในช่วงแรกส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ เมื่อก้อนเนื้อโตขึ้นก็จะทำให้ปวดประจำเดือนมากยิ่งขึ้นและทำให้ปริมาณประจำเดือน
เพิ่มมากขึ้นและมีรอบเดือนนานขึ้น นอกจากนี้ยังมีปริมาณเลือดออกผิดปกติมากด้วย
ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะโดยรอบ ทำให้ท้องบวม
ปวดหลัง ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะยาก ท้องผูก ดังนั้น จึงควรเข้ารับการตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ
โดยมะเร็งปากมดลูกพบได้มากในช่วงอายุ 20 - 30 ปี อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่ามะเร็งปากมดลูก
จะไม่เกิดในช่วงวัยทอง ในช่วงแรกของมะเร็งปากมดลูกจะไม่ค่อยมีอาการแต่เมื่อมะเร็งลุกลามขึ้นตกขาวจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและมีสีน้ำตาล มีเลือดออกผิดปกติ
ในส่วนของมะเร็งมดลูกพบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป สำหรับอาการในช่วงแรกร้อยละ 90 พบว่า ผู้ป่วยมีอาการเลือดออกผิดปกติ
และมีปริมาณตกขาวหรือระดูขาวเพิ่มมากขึ้น สีของตกขาวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม
ดังนั้นหากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแผนกสูตินารี
ติ่งเนื้อปากมดลูกส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกิดขึ้นในผู้หญิงอายุ 20 - 50 ปี ปริมาณตกขาว หรือระดูขาวจะเพิ่มมากขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายกับมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งมดลูก
อย่างไรก็ดีปริมาณเลือดที่ออกมาจะไม่มาก
และบางครั้งจะมีเลือดออกเวลาอุจจาระหรือหลังเล่นกีฬา เมื่อเข้ารับการตรวจที่แผนกสูตินารีด้วยอาการเลือดออกผิดปกติ นอกเหนือจากการตรวจเนื้องอกในมดลูกและมะเร็งมดลูก
การตรวจ screening ด้วยคลื่นอัลตราซาวด์แล้ว
ยังสามารถตรวจค่าฮอร์โมนจากการตรวจเลือดได้ด้วย โดยจะใช้ค่าฮอร์โมนในการวินิจฉัยว่าเป็นวัยทองหรือไม่ และทำให้สามารถทราบได้ว่าอาการเลือดออกผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้น
มีสาเหตุมาจากการทำงานของร่างกาย
หรือเป็นเลือดออกจากอวัยวะซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคต่าง ๆ ดังนั้นควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันทีเมื่อเริ่มมีอาการผิดปกติ
วิธีการรับมือเมื่อมีภาวะเลือดออกผิดปกติอย่างต่อเนื่อง
แต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งลักษณะและปริมาณของเลือดที่ออกผิดปกติ แม้ว่าเลือดที่ออกมาจะมีปริมาณไม่มากแต่หากมีเลือดออกอย่างต่อเนื่องก็ควรไปหาแผนกสูตินารีเพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม
ในกรณีที่เลือดออกผิดปกติจากการทำงานของร่างกายที่ฮอร์โมนเสียสมดุล หากอาการไม่หนักมากก็มักจะรอดูอาการจนกระทั่งหมดประจำเดือน แต่หากเป็นกรณีที่มีเลือดออกบ่อยครั้ง
และมีปริมาณมากก็อาจใช้การรักษาโดยการเพิ่มฮอร์โมนผู้หญิง
กรณีที่เริ่มมีอาการในช่วงก่อนจะหมดประจำเดือน ให้ตรวจสอบว่าตั้งครรภ์หรือไม่ เพราะหากมีการตั้งครรภ์
อาจจะเป็นอาการแท้งคุกคาม (Threatened abortion) หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก ดังนั้นจึงควรเข้ารับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก หากไม่ได้ตั้งครรภ์ก็อาจใช้การตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวด์, MRI
หรือตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบค่าฮอร์โมนและหาสาเหตุ ทั้งนี้ การรักษาจะเป็นไปตามสาเหตุที่ตรวจพบ หากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีความผิดปกติส่วนใหญ่ก็จะได้รับการวินิจฉัย
ว่าเป็นภาวะเลือดออกผิดปกติจากการทำงานของร่างกาย หากมีเลือดออกผิดปกติหลังหมดประจำเดือนแล้ว ก่อนอื่นควรตรวจหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งมดลูกก่อน
โดยเข้ารับการตรวจเซลล์มะเร็งและตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งมดลูกเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้หากค้นพบในระยะแรก แม้ว่าเราจะไม่มีเลือดออกผิดปกติ
แนะนำควรเข้ารับการตรวจที่แผนกสูตินารีเป็นประจำปีละ 1 ครั้ง
หากมีอาการเลือดออกผิดปกติอย่างต่อเนื่อง แนะนำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที
การมีเลือดออกผิดปกติอย่างต่อเนื่องมีหลายสาเหตุ เช่น การทำงานของร่างกายที่เกิดจากฮอร์โมนผู้หญิงเสียสมดุล และการเกิดโรคที่อวัยวะของผู้หญิง ทั้งนี้
ไม่สามารถใช้ลักษณะและปริมาณของเลือดที่ออกผิดปกติในการวินิจฉัยโรคได้ ดังนั้นแม้มีเลือดออกผิดปกติเพียงเล็กน้อย
ก็ควรเข้ารับการตรวจที่แผนกสูตินารีโดยเร็วแม้ว่าจะเป็นเลือดออกผิดปกติที่มีสาเหตุมาจากการเสียสมดุลของฮอร์โมน แต่หากรู้สึกกังวลกับอาการดังกล่าว
ก็สามารถเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมได้ นอกจากนี้หากเป็นเลือดออกผิดปกติที่เกิดขึ้นจากอวัยวะของผู้หญิง สิ่งสำคัญในการรักษาโรคให้หายขาดได้ก็คือ
การตรวจพบโรคนั้น ๆ ตั้งแต่ในระยะแรกของโรค ทั้งนี้ เพื่อการดูแลรักษาร่างกายของเรา หากพบว่ามีความผิดปกติก็ควรจะปรึกษาโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด