ประจำเดือนและฮอร์โมนเพศหญิง สิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นผู้หญิง
การมีประจำเดือนกับฮอร์โมนเพศหญิงเกี่ยวข้องกันอย่างไร
จิตใจและร่างกายของผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงตามรอบเดือน ซึ่งประจำเดือนมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง
ประจำเดือนกับฮอร์โมนเพศหญิงเกี่ยวข้องกันหรือไม่
ชนิดของฮอร์โมนเพศหญิง
ฮอร์โมนเพศหญิงมี 2 ชนิด ชนิดแรก คือ ฮอร์โมนที่ผลิตออกมาในช่วงวัยรุ่นซึ่งจะทำให้ดูเป็นผู้หญิงมากขึ้น จากการทำงานของฮอร์โมนนี้ทำให้หน้าอกใหญ่ขึ้น ร่างกายมีส่วนเว้าโค้งและพัฒนาไปเป็น ร่างกายของผู้หญิง
ฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนชนิดนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดการ
ไข่ตกซึ่งจะช่วยให้มดลูกทำงานได้อย่างเป็นปกติ
เพื่อเป็นการเตรียมการตั้งครรภ์ รังไข่จะผลิตฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้เมื่อได้รับคำสั่งจากสมอง
การทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง
การทำงานของฮอร์โมนนั้นช่วยเพิ่มความเป็นผู้หญิงในหลายๆด้าน เช่น
- รักษาความชุ่มชื้นของผิว
- ช่วยให้ผมเงางาม
- ช่วยให้กระดูกแข็งแรง
- ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
- ทำให้มีอารมณ์ดี เป็นต้น
ฮอร์โมนเพศหญิง และการตั้งครรภ์ สิ่งที่อยู่คู่กับผู้หญิงทุกคน
การทำงานของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
ฮอร์โมนเพศหญิงยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้หญิง
ในการตั้งครรภ์อีกด้วย อาทิเช่น
- ปรับการทำงานของมดลูก
- ปรับปริมาณน้ำในร่างกาย
- ทำให้ปริมาณปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
- ทำให้มีความอยากอาหาร
- ทำให้รู้สึกง่วง หรือรู้สึกหงุดหงิด เป็นต้น
รอบเดือนกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
ฮอร์โมนที่สร้างความเป็นผู้หญิง
จะรักษาความชุ่มชื้นของผิว ทำให้ผมเงางาม ทำให้ร่างกายแข็งแรงโดยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก และหลอดเลือด อีกทั้งทำให้มีอารมณ์ดี
ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
จะช่วยปรับการทำงานของมดลูกและปรับปริมาณน้ำในร่างกาย ทำให้มีความอยากอาหาร รู้สึกง่วงนอน รู้สึกหงุดหงิด ในช่วงที่มีประจำเดือน ,ก่อนช่วงที่มีประจำเดือน ,ช่วงรอบเดือน (วัน)
โดยปกติรอบเดือนจะมี 28 วัน วันแรกที่มีประจำเดือนนับเป็นวันที่ 1
ช่วงที่มีประจำเดือนตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 7 ทั้งฮอร์โมนที่สร้างความเป็นผู้หญิงและฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์จะยังไม่ถูกผลิตออกมา เมื่อใกล้วันไข่ตก ตั้งแต่วันที่ 13 ฮอร์โมนเพศหญิงจะเพิ่มปริมาณขึ้น และมีปริมาณสูงสุดในวันที่ 15 ซึ่งเป็นวันไข่ตก ช่วงนี้ภายในมดลูกจะมีการเตรียมที่นอนสำหรับทารก เมื่อเลยจากช่วงเวลานี้ไปแล้วประมาณวันที่ 20 เป็นต้นไปฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์จะเริ่มเพิ่มขึ้น ทำให้ภายในร่างกายมีการเตรียมการสำหรับการตั้งครรภ์ ซึ่งหากไม่ได้ตั้งครรภ์ในช่วงนี้ ฮอร์โมนทั้งสองชนิดก็จะลดลงและเริ่มมีประจำเดือน นอกจากนี้ ร่างกายภายนอก เช่น ผิวพรรณและผมก็ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน 2 ชนิดนี้เช่นกัน ก่อนมีประจำเดือนอาจมีอาการผิวแพ้ง่ายหรือเป็นสิว หากเป็นสิวให้ดูแลโดยการล้างหน้าอย่างถูกวิธี รักษาความสะอาดของใบหน้า ไม่จับด้วยมือที่สกปรก ก็จะสามารถป้องกัน
ไม่ให้สิวมีอาการแย่ลงได้