1. หน้าหลัก
  2. เคล็ดลับน่ารู้ สำหรับผู้หญิง
  3. ประจำเดือน วิธีการดูแลตัวเองของผู้หญิง
  4. ภาวะรอบเดือนยาวกว่าปกติ

ประจำเดือน ผ้าอนามัย ประจำเดือนมาน้อย รอบเดือนยาว วิธีรักษา ประจำเดือน ผ้าอนามัย ประจำเดือนมาน้อย รอบเดือนยาว วิธีรักษา

รอบเดือนยาว โรคที่แอบแฝงอยู่และผลกระทบต่อร่างกาย

รอบเดือนยาว คืออะไร

สำหรับผู้หญิงแล้วประจำเดือนเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้รู้สภาพร่างกายตนเอง จนสามารถกล่าวได้ว่าระยะห่างของประจำเดือนไม่ว่าจะสั้นเกินไปหรือยาวเกินไป เป็นสัญญาณ SOS ของบางสิ่งบางอย่างในร่างกาย บางคนอาจมีรอบเดือนยาวนานกว่า 40 วันและบางคนก็ลังเลที่จะไปแผนกสูตินารี

รอบเดือนปกติ คืออะไร

ประจำเดือนเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้หญิงรู้สภาพร่างกายตัวเอง ระยะห่างของประจำเดือนไม่ว่าจะสั้นเกินไปหรือยาวเกินไป เป็นสัญญานเตือน

ของความผิดปกติของร่างกายได้

รอบเดือน หมายถึง วันที่นับตั้งแต่วันแรกที่มีประจำเดือนจนถึงวันก่อนมีประจำเดือนครั้งถัดไป โดยอยู่ช่วงระยะเวลา 25 - 38 วัน ถือเป็นระยะเวลาที่ปกติ หากมีรอบเดือนสั้นกว่า 24 วันเรียกว่า รอบเดือนสั้น หรือ ถ้ามีรอบเดือนยาวกว่า 39 วัน เรียกว่า รอบเดือนยาว ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน

บางครั้งรอบเดือนมีโอกาสคลาดเคลื่อนไปบ้าง การที่ประจำเดือนมาช้าหรือเร็วไป 2-3 วัน

เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย เนื่องจากความเหนื่อย ความเครียด หรือการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

เราสามารถใช้ปฏิทินหรือแอพพลิเคชั่นในการจดบันทึกข้อมูลการมีประจำเดือนได้

สาเหตุของการมีรอบเดือนยาว

ประจำเดือนมาน้อย เป็นภาวะที่รอบเดือนมีระยะเวลานานกว่า 39 วัน ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งแบบที่มีไข่ตกและไข่ไม่ตก สาเหตุที่รอบเดือนมีระยะเวลายาวนาน มีหลายสาเหตุ สาเหตุแรกคือ การที่มีฮอร์โมนเพศชายมากกว่า หรือมีการผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ออกมามาก ทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุล ส่งผลให้ไข่ตกไม่ปกติ สาเหตุที่สอง คือ ความเครียดและการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

ทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุล ซึ่งแก้ได้โดยการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ อาจเป็นผลมาจากระบบ การทำงานของ Hypophysis ที่มีสมรรถภาพลดลง ไข่ตกเกิดขึ้นได้โดยการทำงานของ

ฮอร์โมนที่ถูกผลิตจาก Hypophysis ส่งผลให้รังไข่ซึ่งมีถุงไข่อ่อนตั้งต้น (Primordial follicle) อยู่จำนวนมากถูกกระตุ้น ทำให้ไข่เจริญเติบโต หากระบบ Hypophysis และรังไข่มีปัญหา

จะส่งผลให้ไข่ไม่ตกและก่อให้เกิดภาวะประจำเดือนมาน้อยแบบไม่มีไข่ตกได้

โรคที่แอบแฝงมากับรอบเดือนยาว

การใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ให้ประจำเดือนมาน้อย หากมีความกังวลก็ให้หยุดการใช้ยาดังกล่าว

ในกรณีที่สาเหตุมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ที่ส่งผลให้ฮอร์โมนเสียสมดุล

ดังนั้น เราควรดูแลตัวเองเพื่อให้รอบเดือนกลับมาเป็นปกติ นอกจากนี้ ภาวะประจำเดือนมาน้อยอาจมีโรคแอบแฝงอยู่

เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovary syndrome -PCOS) และ ภาวะระดับโปรแลคตินสูง (Hyperprolactinemia)

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบเป็นภาวะที่มีถุงน้ำขนาดเล็กในรังไข่จำนวนมาก ทำให้ต้องใช้เวลานานกว่าที่ไข่จะเจริญเติบโตจึงไม่สามารถทำให้ไข่ตกได้

มีหลายกรณีที่ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายถูกผลิตออกมามากเกินไป ก็จะไปขัดขวางการเจริญเติบโตของไข่ได้เช่นกัน


วิธีการรักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

คือ การใช้ฮอร์โมนและยาสมุนไพร เพื่อทำให้การผลิตฮอร์โมนกลับมาปกติ ในกรณีที่ประสงค์จะตั้งครรภ์ให้ใช้ยารับประทานและการฉีดยาเพื่อเร่งให้ไข่ตกด้วย

นอกจากนี้ มีวิธีรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งจะเป็นการส่องกล้องที่ท้องเพื่อเจาะรูเล็กๆ ที่รังไข่


ภาวะระดับโปรแลคตินสูง

การมีประจำเดือนมาน้อยอาจเกิดจากระดับโปรแลคตินสูง ซึ่งโปรแลคตินเป็นฮอร์โมนที่ทำให้มีน้ำนมหลังคลอดและยับยั้งการมีประจำเดือน เมื่อระดับโปรแลคตินสูง ก็จะมีการผลิตฮอร์โมนออกมามาก

แม้ว่าจะไม่ได้มีการคลอดลูกก็ตาม


การรักษามีหลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับโปรแลคตินสูง คือ การมีเนื้องอกที่ Hypophysis ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน หากอาการไม่รุนแรงจะรักษาด้วยการยับยั้งการผลิต

โปรแลคติน แต่ในบางครั้งก็จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกออก

วิธีทำให้รอบเดือนกลับมาคงที่

เพื่อแก้ไขภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น ประจำเดือนมาน้อยเกินไป โดยปกติจะต้องเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาล แต่ก็มีวิธีที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ชีวิตอย่างสมดุล การรับประทานอาหารให้สมดุล การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ

ไม่ลดน้ำหนักอย่างหักโหม และไม่สะสมความเครียด

การรับประทานอาหารที่สมดุล

เราควรรับประทานอาหารอย่างสมดุล ไม่ควรเลือกรับประทานอย่างใดอย่างหนึ่งหรืออดอาหาร ซึ่งเป็นการลดน้ำหนักอย่างหักโหม เพราะจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารได้

ซึ่งเมื่อร่างกายขาดสารอาหารก็จะหยุดการมีประจำเดือนเพื่อปกป้องร่างกาย ดังนั้น จึงทำให้เกิดภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ


การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับให้เพียงพอจะช่วยให้ฮอร์โมนในร่างกายมีความสมดุล เพราะเมื่อนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยปรับสมดุลในร่างกายก็จะลดน้อยลง

นอกจากนี้ หากนอนหลับสลับเวลาระหว่างกลางวันกับกลางคืน หรือไม่เป็นเวลาก็จะส่งผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนซึ่งควบคุมการทำงานของมดลูก ดังนั้นเราควรนอนหลับในเวลาที่เหมาะสม

เพื่อให้การทำงานของร่างกายสมดุลและผลิตเมลาโทนินได้ตามปกติ และทำให้ไข่ตกอย่างเป็นระบบ


การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ

การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะจะช่วยแก้ไขอาการร่างกายเย็น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ การที่ร่างกายเย็นจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดีซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึง

การมีประจำเดือนไม่ปกติได้ เราควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสมไม่หักโหมจนเกินไป


การผ่อนคลายความเครียด

ความเครียดจะส่งผลโดยตรงต่อร่างกายของผู้หญิง เมื่อเกิดเรื่องที่น่าตกใจหรือตื่นเต้น สมองส่วน Hypothalamus ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมฮอร์โมนผู้หญิงจะได้รับผลกระทบทำให้ในบางครั้ง

มีการหยุดผลิตฮอร์โมน โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกเครียดอย่างหนักหรือเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุลได้ง่ายและทำให้รอบเดือนไม่คงที่

ดังนั้น ควรหาเวลาผ่อนคลายและไม่สะสมความเครียดเอาไว้


หากมีความกังวลเกี่ยวกับรอบเดือนยาว ควรปรึกษาสูตินารีแพทย์

การมีรอบเดือนที่มีระยะเวลายาวกว่า39 วัน เรียกว่า รอบเดือนยาว หรือประจำเดือนมาน้อย หากมีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความเหนื่อย ความเครียด หรือการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

สิ่งจำเป็นคือ การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้สมดุล บางครั้งการมีรอบเดือนยาวอาจมีโรคต่างๆแอบแฝงอยู่ ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาในอนาคต เช่น การมีบุตรยาก

แนะนำให้ปรึกษาสูตินารีแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการตั้งครรภ์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อทำให้รอบเดือนมาตามปกติ

KEEP IN TOUCH WITH US

ภาวะรอบเดือนยาวกว่าปกติ

ภาวะรอบเดือนยาวกว่าปกติ ภาวะรอบเดือนยาวกว่าปกติ