1. หน้าหลัก
  2. เคล็ดลับน่ารู้ สำหรับผู้หญิง
  3. ประจำเดือน วิธีการดูแลตัวเองของผู้หญิง
  4. อาการที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อประเดือนมามากกว่าปกติ

ประจำเดือนมามากผิดปกติ ผ้าอนามัย วิธีรักษา ช่วงวัย ประจำเดือนมามากผิดปกติ ผ้าอนามัย วิธีรักษา ช่วงวัย

ทำอย่างไร เมื่อประจำเดือนมามากกว่าปกติ

อธิบายเกี่ยวกับอาการ สาเหตุและวิธีการรับมือ

อาการที่น่าสงสัยว่าเป็นอาการของการมีประจำเดือนมากผิดปกติ เช่น รู้สึกว่ามีประจำเดือนมาก มีประจำเดือนยืดเยื้อต่อเนื่องกันนานเกิน 1 สัปดาห์

ปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือนเป็นเรื่องที่ปรึกษาผู้อื่นได้ยาก เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับอาการ สาเหตุ และวิธีรับมือกับการมีประจำเดือนมากผิดปกติ

เราควรทราบลักษณะเฉพาะของอาการประจำเดือนมาผิดปกติไว้ เพื่อที่จะได้ไม่มองข้ามสัญญาณแสดงความผิดปกติของร่างกายไป

ประจำเดือนมามากผิดปกติหมายถึงอะไร

ประจำเดือนมามากผิดปกติเป็นสภาพที่ประจำเดือนมีปริมาณมากผิดปกติ

ตามหลักวิชาการแล้ว หากประจำเดือนมีปริมาณมากกว่า 140 มม.

จะถือว่า มีปริมาณมากผิดปกติ

การวัดปริมาณประจำเดือนให้ได้ตัวเลขที่แน่นอนเป็นเรื่องยากมาก ดังนั้น ในกรณีที่ไม่มีสาเหตุภายในร่างกายอื่นๆ จะวินิจฉัยอาการโดยพิจารณาว่า มีอาการโลหิตจางหรือไม่ หากมีอาการโลหิตจาง

ก็มีความเป็นไปได้ที่จะประจำเดือนจะมามากผิดปกติ


หากการมีประจำเดือนมามากผิดปกติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นอาการเรื้อรัง ร่างกายอาจชินกับสภาพดังกล่าวทำให้ไม่รู้ตัวได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการปวดประจำเดือนหรือการขาดประจำเดือนแล้ว

การที่ประจำเดือนมามากผิดปกติเป็นอาการที่ตรวจพบได้ยาก

จึงมีหลายกรณีที่มองข้ามสัญญาณแสดงความผิดปกติของร่างกายไป นอกเหนือจากปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นแล้ว หากเข้ารับการตรวจและได้รับการวินิจฉัยว่า มีอาการโลหิตจาง

ก็ควรเข้ารับการตรวจที่แผนกสูตินารีโดยเร็ว

ตรวจสอบอาการของการมีประจำเดือนมามากผิดปกติ

มาตรฐานในการตัดสินว่า มีปริมาณประจำเดือนมากหรือไม่ก็คือ ระหว่างมีประจำเดือนมีจำนวนวันที่ต้องใช้ผ้าอนามัยสำหรับกลางคืนในช่วงกลางวัน 3 วันขึ้นไปหรือไม่ เมื่อใช้ผ้าอนามัยแบบปกติ

จะต้องเปลี่ยนภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมงหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าวให้วินิจฉัยได้ว่ามีปริมาณประจำเดือนมาก นอกจากนี้ อาจมีก้อนเลือดขนาดใหญ่ปนมากับประจำเดือนด้วย

ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการมีประจำเดือนมาก หากมีอาการเหล่านี้ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแผนกสูตินารี หากมีอาการหน้ามืดบ่อยครั้ง ใจสั่น หอบ เหนื่อยง่าย ร่างกายอ่อนเพลีย

ก็อาจสงสัยได้ว่ามีอาการโลหิตจางโดยเฉพาะผู้ที่เคยมีประสบการณ์ตรวจเลือดและได้รับการวินิจฉัยว่า มีปริมาณธาตุเหล็กในเลือดน้อย

สาเหตุของการมีประจำเดือนมากผิดปกติ

การมีประจำเดือนมากผิดปกติมาจากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับอายุ เช่น ช่วงอายุน้อยที่ฮอร์โมนยังไม่สมดุล อาจมีเลือดเนื่องจากประจำเดือนที่ไม่มีไข่ตก หรือภาวะ Luteal phase defect ซึ่งในบางกรณีจะทำให้มีประจำเดือน

มากผิดปกติด้วย

สำหรับการมีประจำเดือนมากผิดปกติของวัยรุ่นนั้น การที่รังไข่เจริญเติบโตสมบูรณ์ ฮอร์โมนจะมีความสมดุลขึ้นทำให้อาการค่อยๆ ดีขึ้น

อย่างไรก็ดี หากตรวจสอบฮอร์โมนแล้วไม่พบความผิดปกติ ก็มีความเป็นไปได้ว่า สาเหตุอาจมาจากโรคอื่นๆ เช่น การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

ช่วงอายุ 20-30 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เจริญเติบโตทางเพศสมบูรณ์แล้วจะมีความเสี่ยง ในการเป็นโรคต่างๆสูงขึ้น เช่นเนื้องอกในมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ติ่งเนื้อในมดลูก

โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเหล่านี้มากขึ้น

เมื่อเข้าสู่วัยทอง พบว่า การทำงานของรังไข่ที่ลดลงและการมีประจำเดือนโดยไม่มีไข่ตกเป็นสาเหตุของอาการดังกล่าว และในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงจะเกิดเนื้องอกในมดลูก

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ

และเนื้องอกชนิดร้ายเพิ่มมากขึ้นด้วย หากการมีประจำเดือนมากผิดปกติมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ

สิ่งสำคัญก็คือ การตรวจพบโรคและการรักษาในระยะแรก แม้ว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งมดลูก

หากสามารถตรวจพบในระยะแรกได้ ก็มีโอกาสสูงที่จะสามารถรักษาให้หายได้ เมื่อรู้สึกถึงความผิดปกติควรเข้ารับการตรวจ ที่แผนกสูตินารีโดยเร็วและควรเข้ารับการตรวจประจำปีที่แผนกสูติตินารี

เพื่อจะที่ได้สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ในระยะเริ่มแรกด้วย

วิธีการรับมือที่ถูกต้องกับการมีประจำเดือนมากผิดปกติ

การรักษาการมีประจำเดือนมากผิดปกติของแต่ละคนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ชีวิต อายุและอาการ จึงควรปรึกษาแพทย์และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ต่อไปจะแนะนำวิธีรับมือเพื่อช่วยบรรเทาอาการ

รับประทานอาหารให้มีความสมดุล

หากประจำเดือนมามากผิดปกติ หลายคนอาจมีอาการโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก ดังนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก สำหรับผู้หญิงที่มีประจำเดือน

ปริมาณธาตุเหล็กที่ควรได้รับใน 1 วันคือ 10.5 – 11.0 มิลลิกรัม ธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่ร่างกายมีอัตราการดูดซึมต่ำ

สิ่งที่สำคัญ คือ การเลือกรับประทานอาหาร 3 มื้อโดยให้มีความสมดุลของสารอาหาร


ทำให้ร่างกายอบอุ่น

การที่ร่างกายมีอุณหภูมิเย็นจะทำให้ปริมาณประจำเดือนเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรระมัดระวังไม่ให้ร่างกายเย็นอย่างไรก็ดี การนวดจะทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นและช่วยอบอุ่นร่างกาย

แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้ปริมาณประจำเดือนเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้น ในกรณีที่มีปริมาณประจำเดือนมากผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการนวด


การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับประจำเดือน

หากมีประจำเดือนซึมเปื้อน ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสรีระและกิจกรรมที่ทำ


การใช้ยาคุมกำเนิดชนิด ฮอร์โมนต่ำ (Low-dose pill)

ในกรณีที่เข้ารับการตรวจเนื่องจากมีปริมาณประจำเดือนมากผิดปกติ วิธีการรักษาชนิดหนึ่งก็คือ การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำ ส่วนใหญ่แล้วมักคิดกันว่ายาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำ

ใช้สำหรับคุมกำเนิดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากรับประทานเพื่อควบคุมฮอร์โมนในการไข่ตก ก็จะช่วยสร้างสมดุลให้แก่ร่างกายได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ การใช้ยาคุมกำเนิด

จะช่วยลดความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่ปริมาณประจำเดือนจะลดลง ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาอาการโลหิตจางแล้ว ยังช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

และลดระยะเวลาของการมีประจำเดือนด้วย การรักษาอาการมีประจำเดือนมากผิดปกติจะแตกต่างกันไปตามวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน อายุและอาการของแต่ละคน

ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์และเลือกการรักษาที่เหมาะสม


ในกรณีที่อาการหนักควรขอรับคำปรึกษาจากแผนกสูตินารี

การมีประจำเดือนมากผิดปกติ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้อาการโลหิตจางทรุดลงได้ อาการโลหิตจางจะเริ่มจากตาลาย เหนื่อยล้า ไม่มีแรง และเมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือนอาการจะค่อยๆ ทรุดลง

ส่วนใหญ่แล้วสาเหตุของการมีประจำเดือนมากผิดปกติมาจากการที่ฮอร์โมนเสียสมดุล แต่ก็มีหลายกรณีซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคของอวัยวะผู้หญิง เช่น เนื้องอกในมดลูก

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งมดลูก หากรู้สึกว่ามีอาการของประจำเดือนมามากผิดปกติควรเข้ารับคำปรึกษาจากแผนกสูตินารีโดยเร็ว


สิ่งสำคัญในการรักษาอาการมีประจำเดือนมากผิดปกติ

คือ การระบุให้ได้ว่าสาเหตุคืออะไร ในการเข้ารับการตรวจ ผู้ป่วยควรสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน

อาการและผลที่เกิดขึ้นต่อการใช้ชีวิตประจำวันเอาไว้ด้วย เพื่อช่วยให้สามารถตอบคำถามแพทย์ได้อย่างราบรื่น


ปริมาณประจำเดือนของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป

การตัดสินว่า ปริมาณประจำเดือนของตัวเองอยู่ในขอบข่ายปกติหรือไม่นั้น ทำได้ยาก หากพบว่ามีปริมาณประจำเดือนมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปกติ

หรือระยะเวลาที่มีประจำเดือนยาวนานขึ้น ก็ควรเข้ารับการตรวจที่แผนกสูตินารี

KEEP IN TOUCH WITH US

อาการที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อประเดือนมามากกว่าปกติ

อาการที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อประเดือนมามากกว่าปกติ อาการที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อประเดือนมามากกว่าปกติ