1. หน้าหลัก
  2. เคล็ดลับน่ารู้ สำหรับผู้หญิง
  3. ประจำเดือน วิธีการดูแลตัวเองของผู้หญิง
  4. สาเหตุและวิธีรับมือกับการปวดประจำเดือน

ปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือน ตกขาว ผ้าอนามัย ปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือน ตกขาว ผ้าอนามัย

เรียนรู้และเข้าใจถึงสาเหตุของอาการปวดท้องประจำเดือน
และวิธีรับมือกับอาการที่เกิดขึ้น

สาเหตุและวิธีรับมือกับการปวดประจำเดือน

อาการปวดประจำเดือนเป็นอาการที่ผู้ป่วยมาขอรับคำปรึกษาจากแผนกสูตินารีมากที่สุด สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่มีเลือดคั่งค้างมากผิดปกติในอุ้งเชิงกราน (Pelvic Congestion Syndrome) หรือการที่มดลูกหดตัว เพื่อดันให้ประจำเดือนออกไปข้างนอก ทุกคนคงเคยพยายามแก้ไข

อาการปวดประจำเดือน อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดมาก ก็ไม่ควรฝืนและควรขอรับคำปรึกษาจากแผนกสูตินารี

เรามาหาสาเหตุของการปวดประจำเดือนกันเถอะ

แม้ว่าจะพูดว่ามีอาการปวดประจำเดือน แต่ก็ไม่ได้ความว่าจะมีอาการปวดท้องอย่างเดียว การรู้สึกถึงความปวดและส่วนที่ปวดของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป เช่น ปวดเอว

ปวดศรีษะ ดังนั้น เราจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของการปวดของทุกคนไว้ตรงนี้

 

เมื่อมีประจำเดือนเคยรู้สึกปวดตามส่วนต่างๆของร่างกายหรือไม่

จากการสำรวจของยูนิชาร์ม เดือนสิงหาคม 2017 แบบสอบถามเกี่ยวกับร่างกายของสตรี จำนวนผู้ตอบ 4949 คน พบว่า 88%เคยปวดท้องประจำเดือน

โดย 91.1%ปวดที่บริเวณท้องน้อย

 

การรับมือเมื่อรู้สึกปวดประจำเดือน

การปวดมีหลายระดับ หากปวดน้อยก็อดทนได้ แต่บางคนรู้สึกปวดมากอาจจะใช้ยาแก้ปวด บางครั้งอาจจะต้องมีการนอนพักหรือใช้แผ่นแปะร้อนให้ท้องได้รับความอบอุ่นเพื่อบรรเทาการปวด

 

อาการปวดประจำเดือน เกิดขึ้นได้อย่างไร

  • หากไม่มีโรคอื่น ๆ ก็จะเป็นอาการปวดประจำเดือนอันเนื่องมาจากการทำงานของร่างกาย
    หากไม่มีโรคอื่นใดเป็นพิเศษแต่รู้สึกปวดจนต้องนอนพัก เราจะเรียกอาการนี้ว่า อาการปวดประจำเดือนอันเนื่องมาจากการทำงานของร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหดตัวของมดลูกเพื่อดันให้ประจำเดือนออกไป การมีเลือดคั่งในอุ้งเชิงกรานมากผิดปกติเนื่องจากฮอร์โมนเสียสมดุล การไหลเวียนของเลือดในร่างกายไม่ดี ความเครียด เป็นต้น
    อาการส่วนใหญ่จะรู้สึกปวดท้องเหมือนถูกกดทับในช่วงมีประจำเดือนวันที่ 2-3 ซึ่งเป็นช่วงที่มีปริมาณของประจำเดือนเพิ่มขึ้น ในบางกรณีมีอาการปวดบ่า ตัวบวม คลื่นไส้ หงุดหงิด
    ตัวร้อนเหงื่อออก และง่วงนอนด้วย นอกจากนี้ ยังมีอาการปวดส่วนอื่นๆ เช่น การมีเลือดคั่งในอุ้งเชิงกรานมากผิดปกติทำให้การไหลเวียนของเลือดในลำตัวช่วงล่างแย่ลงส่งผลให้ปวดเอว
    หรือระบบประสาทอัตโนมัติเสียสมดุลทำให้ปวดศีรษะ

 

  • อาการและระดับของการปวดประจำเดือนจะเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง
    ตามปกติแล้ว ไข่จากรังไข่ด้านซ้ายขวาจะสลับกันตก ซึ่งปริมาณประจำเดือนก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพฮอร์โมนในขณะนั้น อาการและระดับของความปวดจึงเปลี่ยนแปลงไป
    มีหลายคนที่ปวดประจำเดือนแบบเดือนเว้นเดือน ซึ่งอาการดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการที่รังไข่ข้างใดข้างหนึ่งมีความผิดปกติ เช่น มีถุงน้ำซึ่งเกิดขึ้นจากเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
    หรือรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งไวต่อความเจ็บปวดมากกว่าอีกข้างหนึ่ง

 

  • อายุและการใช้ชีวิตก็มีผลต่อการปวดประจำเดือน
    ตามปกติแล้วช่วงอายุ 10 ปี ปากมดลูกจะแคบทำให้เวลาดันประจำเดือนออกไปรู้สึก ปวดมาก ซึ่งเป็นอาการที่สบายใจได้ เนื่องจากอาการจะบรรเทาลงตามร่างกายที่เจริญเติบโตมากขึ้น
    นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ชีวิตก็ทำให้รู้สึกปวดมากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น ความเครียดก็สามารถส่งผลต่ออาการปวดประจำเดือนได้เช่นกัน
    ทั้งนี้ มีผู้กล่าวว่าหากคลอดบุตรแล้วจะไม่ปวดประจำเดือนเนื่องจากในการคลอดบุตรจะทำให้ปากมดลูกเปิดประจำเดือนจึงไหลออกมาข้างนอกได้อย่างราบรื่น
    อย่างไรก็ดี ทฤษฎีนี้ก็ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน

 

การทำงานของฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดท้องประจำเดือน

ส่วนใหญ่ค่อนข้างพบมากในผู้หญิงอายุน้อยช่วงอายุ 20 ปี โดยฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งถูกสร้างขึ้นที่เยื่อบุโพรงมดลูก มีปริมาณมากเกิน

ทำให้ปวดประจำเดือนฮอร์โมนดังกล่าวทำให้มดลูกหดตัวลง เมื่อมีการดันให้ประจำเดือนออกไปนอกร่างกายและฮอร์โมนนี้ถูกผลิตขึ้นมามากเกิน มดลูกก็จะหดตัวมาก

ทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น ทั้งนี้ การเจ็บท้องเวลาคลอดบุตรก็เกิดจากการทำงานของฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) เช่นกัน ถ้ารับประทานยายับยังการสร้างฮอร์โมน

อาการปวดประจำเดือนก็จะน้อยลง

 

  • อาการปวดประจำเดือนเนื่องจากอวัยวะซึ่งมีสาเหตุมาจากการเป็นโรคต่างๆ จำเป็นต้องระมัดระวัง
    การปวดประจำเดือนที่น่าเป็นกังวล คือ กรณีที่มีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ อาการปวดประจำเดือนเนื่องจากอวัยวะ เป็นกรณีที่ความปวดมีสาเหตุมาจาก โรคต่าง ๆ
    เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก หรือการอักเสบต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นพังผืดที่อวัยวะได้ จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา

ระดับของอาการปวดประจำเดือนที่ควรไปโรงพยาบาล

หากอาการปวดมีไม่มากและเมื่อใช้ยาแก้ปวดที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปเพียง 1-2 ครั้งแล้วดีขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลมากจนเกินไป

อย่างไรก็ดี หากอาการปวดเพิ่มมากขึ้นและหลังจากวันที่ 2 โดยไม่ทุเลาลงเลยหรือมีอาการจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน

เช่น ทุกครั้งที่มีอาการปวดจะปวดมากจนต้องนอนพัก แนะนำให้เข้ารับการตรวจที่แผนกสูตินารี นอกจากนี้ หากระยะหลังอยู่ดีๆ อาการปวดก็เพิ่มมากขึ้นหรือมีปริมาณประจำเดือนเพิ่มมากขึ้นด้วย

รู้สึกเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์หรืออุจจาระ ก็อาจเป็นโรคต่างๆได้ และมีโอกาสที่จะ

เป็นอาการปวดประจำเดือนอันเนื่องมาจากอวัยวะ ดังนั้น จึงควรไปพบแผนกสูตินารีโดยเร็ว

เพื่อตรวจหาสาเหตุ สำหรับช่วงเวลาที่เข้ารับการตรวจ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่ไม่ได้ปวดประจำเดือน

ช่วงอื่นๆ นอกจากช่วงก่อนมีประจำเดือนหรือ ช่วงที่มีประจำเดือน ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้

การรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

เมื่อเข้ารับการตรวจ ก่อนอื่นจะตรวจหาว่ามีโรคต่างๆ แอบซ่อนอยู่หรือไม่ ซึ่งหากผลการตรวจพบว่าไม่เป็นโรคใดๆ ก็จะทำการรักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ การรักษาอาการปวดก็จะได้รับยาระงับปวด สำหรับคนที่มีฮอร์โมนโพรสตาแกลนดินมากเกินก็จะใช้ยาลดการผลิตฮอร์โมน

หากมีอาการทางจิตใจ เช่นหงุดหงิดมาก ก็อาจมีการจ่ายยาระงับประสาท

  • การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำซึ่งใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง บรรเทาอาการปวดประจำเดือนด้วยการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำ
    ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำเป็นยาที่มีประสิทธิภาพต่ออาการปวดประจำเดือนด้วย โดยตัวยาจะยับยั้งการไข่ตกเพื่อวัตถุประสงค์ในการหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ แต่ก็จะช่วย
    บรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ หากใช้ยาคุมกำเนิดในการยับยั้งการไข่ตก ไม่เพียงแต่จะสามารถยับยั้งการผลิตฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน ซึ่งทำให้มดลูกหดตัวเท่านั้น
    แต่ยังจะช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หนาซึ่งจะทำให้ปริมาณประจำเดือนลดลงและอาการปวดทุเลาลงได้ อย่างไรก็ดีมี เงื่อนไขว่าหากเป็นคนที่สูบบุหรี่มากกว่า 15 มวนใน 1 วัน
    ก็จะไม่สามารถใช้ได้ ดังนั้นในการใช้ยาจะต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ก่อน

 

การใช้ยาและยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

การใช้ยาระงับปวดเป็นการบรรเทาอาการปวดอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี บางคนก็ไม่ค่อยอยากใช้ยาจึงอดทนจนกว่าอาการปวดจะเพิ่มมากขึ้นจริงๆ ซึ่งจะทำให้เห็นผลของยายากขึ้น

เนื่องจากสิ่งที่เป็นสาเหตุของอาการปวดในร่างกายมีจำนวนเพิ่มขึ้น หากใช้ยาระงับปวดควรใช้ตั้งแต่เริ่มรู้สึกปวด นอกจากยาระงับปวดแล้วก็แนะนำให้ใช้ยาสมุนไพร

ในทางการแพทย์แผนตะวันออก สิ่งสำคัญสำหรับร่างกายของคนเรา คือ ความสมดุลของ เลือด ลม น้ำ การที่รู้สึกปวดประจำเดือนเนื่องจาก ”เลือด” ไม่เพียงพอหรือการไหลเวียนของเลือดไม่ดี

ดังนั้น ยาสมุนไพรที่ช่วยปรับอุณหภูมิของร่างกายไม่ให้เย็น ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในเชิงกราน และช่วยลดอาการทางจิตใจ เช่น ความหงุดหงิด ก็จะมีประสิทธิผลดี

แนะนำควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเฉพาะทางดูว่ายาชนิดใดเหมาะกับอาการและร่างกายของเรา ทั้งนี้ ยาสมุนไพรซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนส่วนใหญ่ ได้แก่

Tokichakuyakusan เพิ่มปริมาณเลือดและทำให้การไหลเวียนดีขึ้น ,Kamishoyosan ลดอาการหงุดหงิดบรรเทาความเครียดเพิ่มสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ ,

Keishibukuryogan ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น มีสรรพคุณช่วยปรับอุณหภูมิร่างกาย

การดูแลตนเองเมื่อปวดประจำเดือน

ขอแนะนำวิธีดูแลตัวเองที่สามารถทำได้เองที่บ้านเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

ทำให้ร่างกายอบอุ่นและการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

พื้นฐานการดูแล คือ การอบอุ่นร่างกายช่วงล่าง เพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ดังนั้น ขอแนะนำให้แช่น้ำอุ่นในอ่างช่วงที่มีประจำเดือน การแช่น้ำจะทำให้ปริมาณประจำเดือนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม

ความจริงแล้วการแช่น้ำอุ่นไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณประจำเดือน

ดังนั้น จึงควรแช่น้ำอุ่นและหากใช้ผงแช่น้ำหรือน้ำมันอาโรมา ซึ่งช่วยเรื่องการไหลเวียนของเลือดก็จะยิ่งมีผลดีขึ้น

 

สำหรับผู้ที่ไม่อยากแช่น้ำในอ่างอาบน้ำระหว่างมีประจำเดือน การแช่เท้าในน้ำอุ่นก็สามารถทำได้เช่นกัน

โดยใส่น้ำร้อนประมาณ 41 - 42 องศาลงในถัง แช่เท้าลงไปประมาณ 15-20 นาที

ก็จะช่วยให้ร่างกายช่วงล่างอบอุ่นขึ้นและบรรเทาอาการมือเท้าเย็นได้ด้วยจึงเป็นวิธีที่แนะนำ

 

  • การทำให้ร่างกายผ่อนคลายด้วยอโรมา การเล่นโยคะ และการกดจุดต่างๆ
    เมื่อประสาทและร่างกายตึงเครียดก็จะรู้สึกปวดได้ง่ายมากขึ้น จึงควรผ่อนคลายร่างกายให้มากที่สุด
    แนะนำให้ลองเล่นโยคะ ออกกำลังกายเบาๆ หรือ ทำ Aromatheraphy ก็จะช่วยบรรเทาความเครียด
    การกระตุ้นจุดต่างๆ ของร่างกายด้วยเข็มหรือนิ้วหรือการนวดก็จะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นเช่นกัน

 

  • จุดที่แนะนำเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
    San-in-ko เป็นจุดที่อยู่สูงจากข้อเท้าขึ้นมาประมาณ 4 นิ้วมือ ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกดเพื่อกระตุ้น
    จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นและร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย โดย Jinyu เป็นจุดที่อยู่ข้างซ้ายและขวาบริเวณกระดูกสันหลัง ช่วงเอวส่วนที่คอดที่สุด ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกดเพื่อกระตุ้นจะช่วย
    บรรเทาอาการตัวบวมและการปวดเอวได้

 

  • การบริหารร่างกายง่า ๆ เพื่อทำให้การไหลเวียนของเลือดภายในลำตัวช่วงล่างดีขึ้น
    การหมุนเอว

    กางขาเท่ากับระยะห่างของบ่า มือสองข้างอยู่ที่เอวหมุนเอวเป็นวงกลมไปทางขวา และไปทางซ้าย ข้างละ 20 ครั้ง หรือนั่งเก้าอี้และยืดข้อเท้าในท่าที่สบาย ยืดเท้ามาข้างหน้าเล็กน้อย
    ให้ส้นเท้าอยู่ที่พื้น ยกปลายเท้าขึ้นให้ข้อเท้าทำมุม 90 องศา
    นับ 1-5 และค่อย ๆ กลับสู่ท่าเดิม จากนั้นให้ปลายเท้าให้ตั้งตรง ยืดข้อเท้าและเท้าออก นับ 1-5
    ทำเช่นนี้อย่างละ 5 ครั้ง
    เมื่อนั่งโต๊ะทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้การไหลเวียนของเลือดที่ลำตัวส่วนล่างไม่ค่อยดี
    ดังนั้น แนะนำให้บริหารร่างกายเป็นประจำไม่เพียงแต่ช่วงที่มีประจำเดือนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม
    สิ่งสำคัญก็คือ การไม่ฝืนร่างกายในช่วงที่ปวดประจำเดือน ควรบริหารร่างกายโดยดูสภาพร่างกายไปด้วย

 

  • นมถั่วเหลืองจะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนและเป็นเครื่องดื่มที่เพิ่มความงามได้ด้วย
    นมถั่วเหลืองเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากถั่วเหลือง ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น “เนื้อสัตว์ที่อยู่ในไร่” เนื่องจากอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น
    ได้แก่ กรดอะมิโนและโปรตีนจากพืช และสิ่งที่น่าจับตามองมากที่สุดก็คือ สาร Soy isoflavones
    ซึ่งทำงานคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนผู้หญิง สาเหตุของการปวดประจำเดือน
    คือ การที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่เพียงพอ ดังนั้น การรับประทานนมถั่วเหลืองจึงสามารถบรรเทาอาการปวดได้ อีกทั้ง ผู้ที่อยู่ระหว่างการลดน้ำหนักก็ดื่มได้อย่างสบายใจ เนื่องจากมีแคลอรี่ต่ำ
    จึงควรดื่มนมถั่วเหลืองทุกวัน

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เมื่อมีประจำเดือน
    ช่วงมีประจำเดือนร่างกายจะบอบบางและความสามารถในการย่อยสลายแอลกอฮอล์ก็ลดต่ำลง
    ทำให้เมาง่ายและรู้สึกไม่สบายง่ายขึ้น รวมถึงกรณีที่ใช้ยาระงับปวดจะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงมีประจำเดือน

KEEP IN TOUCH WITH US

สาเหตุและวิธีรับมือกับการปวดประจำเดือน

สาเหตุและวิธีรับมือกับการปวดประจำเดือน สาเหตุและวิธีรับมือกับการปวดประจำเดือน