1. หน้าหลัก
  2. เคล็ดลับน่ารู้ สำหรับผู้หญิง
  3. ประจำเดือน วิธีการดูแลตัวเองของผู้หญิง
  4. สาเหตุที่รอบเดือนสั้น และประจำเดือนมาบ่อย

ประจำเดือน ผ้าอนามัย ประจำเดือนมาบ่อย รอบเดือนสั้น ประจำเดือน ผ้าอนามัย ประจำเดือนมาบ่อย รอบเดือนสั้น

รอบเดือนสั้น หรือประจำเดือนมาบ่อย ภาวะที่เสี่ยงต่อโรคร้าย

ทำไมรอบเดือนจึงสั้นและประจำเดือนมาบ่อย

การมีประจำเดือนของผู้หญิงแต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคนอาจมีรอบเดือนสั้น ทำให้เกิดความกังวลว่ามีส่วนใดผิดปกติหรือไม่

เรามาเรียนรู้ลักษณะ สาเหตุและผลกระทบของรอบเดือนสั้นกันเถอะ

การมีรอบเดือนของผู้หญิง

ประจำเดือนเป็นสิ่งที่ผู้หญิงต้องพบเจอในช่วงที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์

ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและการใช้ชีวิต

โดยสิ่งที่กำหนดความถี่ของรอบเดือน คือ การทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เมื่อมีประจำเดือนจะรู้สึกว่าร่างกายไม่ค่อยสบายหรือมีกลุ่มอาการ

ก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome - PMS) ซึ่งเป็นอาการที่มีความเกี่ยวข้องกับความสมดุลของฮอร์โมน ในทางกลับกัน อาจจะมีบางช่วงที่รู้สึกว่าร่างกายกระฉับกระเฉงและมีความสดชื่น

ซึ่งเป็นผลจากการมีรอบเดือนด้วยเช่นกัน


การมีรอบเดือน แบ่งออกได้เป็น 4 ช่วง คือ ช่วงก่อนไข่ตก ช่วงไข่ตก ช่วงหลังไข่ตก

และช่วงมีประจำเดือน

• ช่วงก่อนไข่ตก คือ ตั้งแต่ช่วงที่ประจำเดือนสิ้นสุดลง ฮอร์โมนเอสโตรเจนก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น

และเยื่อบุโพรงมดลูกก็จะเริ่มหนาขึ้น เป็นช่วงที่อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง

• ช่วงไข่ตก เป็นช่วงที่ปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มสูงที่สุดและไข่ถูกปล่อยออกมาจากรังไข่

• ช่วงหลังไข่ตก เป็นช่วงที่ Follicle เปลี่ยนเป็น Corpus luteum และผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนออกมาในปริมาณมาก ด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เยื่อบุโพรงมดลูกจะนิ่ม และอุณหภูมิร่างกายเพิ่มสูง

• ช่วงมีประจำเดือน ในกรณีที่ไม่มีการตั้งครรภ์ เยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งถูกเตรียมไว้เพื่อเป็นเตียงสำหรับไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว ก็จะหลุดลอกและถูกขับออกมาจากร่างกายพร้อมเลือดกลายเป็นประจำเดือน

รอบเดือนที่ปกติ หมายถึงอะไร

รอบเดือน หมายถึง วันแรกของการมีประจำเดือน จนไปถึงวันก่อนมีประจำเดือนครั้งถัดไป ส่วนใหญ่รอบเดือนจะมีระยะเวลา 28 วัน ซึ่งแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันอยู่ในช่วง 25 - 38 วัน

ถือว่าเป็นระยะเวลาที่ปกติ ในกรณีที่มีรอบเดือนสั้นกว่าหรือยาวกว่าระยะเวลาดังกล่าว ถือว่ามีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ


วิธีการนับรอบเดือนที่ดี คือ การทำเครื่องหมายไว้ที่ปฏิทิน หรือใช้แอพพลิเคชั่นบันทึกข้อมูลการมีประจำเดือนไว้ สามารถใช้ในการคาดการณ์การมีประจำเดือนครั้งถัดไปได้

ถึงแม้ว่าผู้หญิงที่มีสุขภาพแข็งแรงก็อาจมีรอบเดือนคลาดเคลื่อนไปจากวันที่กำหนด 2-5 วัน โดยสาเหตุหลักมาจากความเครียด

สาเหตุที่ทำให้รอบเดือนสั้น

การที่ประจำเดือนมาบ่อย หรือมีรอบเดือนสั้นกว่า 24 วัน โดยมากเกิดขึ้นได้ ตามปกติในช่วงที่การเจริญเติบโตทางเพศยังไม่สมบูรณ์

เช่น ในช่วงวัยรุ่น หรือช่วงใกล้จะหมดประจำเดือนซึ่งการทำงานของรังไข่ลดลง แต่อย่างไรก็ตามก็อาจมีโรคต่างๆ แอบแฝงอยู่

• ภาวะ Short follicular phase เป็นโรคที่ทำให้ระยะเวลาก่อนการไข่ตกสั้นลง ตามปกติแล้วช่วงที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำจะมีประมาณ 14 วัน แต่ในกรณีของผู้ที่มีภาวะนี้จำนวน

วันที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำจะมีระยะเวลาสั้นกว่าปกติ

• ภาวะ Luteal phase defect เป็นโรคที่ทำให้ระยะเวลาหลังไข่ตกสั้นลง

สาเหตุมาจากความผิดปกติของสมองและรังไข่ ทำให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนไม่เพียงพอ

ทำให้ระยะเวลาตั้งแต่ไข่ตกจนถึงวันที่ประจำเดือนครั้งถัดไปสั้นลง หลังจากไข่ตก ร่างกายจะเข้าสู่ช่วงที่มีอุณหภูมิสูง ในกรณีของผู้ที่มีภาวะนี้ จำนวนวันที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงจะมีระยะเวลาสั้นกว่าปกติ

แนะนำให้ตรวจสอบและจดบันทึกอุณภูมิของร่างกาย เพื่อให้เข้าใจสภาพร่างกายของตัวเอง

ภาวะรอบเดือนสั้นต่อเนื่อง อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย

หากสังเกตได้ว่าตัวเองมีภาวะรอบเดือนสั้น หรือ ประจำเดือนมาบ่อย แนะนำให้เข้ารับการตรวจที่แผนก

สูตินารี หากปล่อยให้การมีภาวะรอบเดือนสั้นยืดเยื้อออกไป ทำให้

มีความเสี่ยงต่อร่างกายเ พิ่มสูงขึ้น เป็นสาเหตุทำให้มีบุตรยาก

หากการที่ประจำเดือนมาบ่อยมีสาเหตุมาจากภาวะ Short follicular phase คือระยะเวลาก่อนไข่ตกสั้นลง ทำให้ไข่ถูกปล่อยออกมาโดยที่ยังไม่สุกเต็มที่ เมื่อไข่ที่ถูกปล่อยออกมายังไม่สุก

ก็จะไม่สามารถปฏิสนธิได้ หรืออาจเกิดการแท้งได้ ในกรณีที่ภาวะ Luteal phase defect

คือระยะเวลาหลังไข่ตกสั้นลง ทำให้ Corpus luteum ทำงานได้ไม่ดี ผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้น้อย ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เจริญเต็มที่จะทำให้มีบุตรยากและแท้งง่าย

นอกจากนี้การที่ประจำเดือน มาบ่อย อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจาง เพราะเมื่อรอบเดือนสั้น

ก็จะมีประจำเดือน 2-3 ครั้ง ภายในระยะเวลา 1 เดือน ทำให้จำนวนครั้งของประจำเดือนในแต่ละเดือนเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณเลือดที่ออกก็จะมากขึ้นด้วย และถ้าเกิดภาวะโลหิตจางเรื้อรัง

จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี ส่งผลให้ ร่างกายอ่อนล้า เหนื่อยง่าย

และอาจได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน


การรักษาหากประจำเดือนมาบ่อย หรือรอบเดือนสั้น

หากมีภาวะประจำเดือนมาบ่อยแต่ไม่มีอาการของภาวะโลหิตจางหรือภาวะเลือดออกผิดปกติร่วมด้วย อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่หากประสงค์จะตั้งครรภ์ในอนาคตหรือมีความกังวล

แนะนำให้ปรึกษาสูตินารีแพทย์


วิธีตรวจสอบว่าตนเองมีภาวะ Short follicular phase หรือไม่

ทำได้โดยการตรวจวัดอุณภูมิร่างกาย เพื่อตรวจดูความยาวของระยะเวลาที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำ หรือ

ตรวจเลือดเพื่อทดสอบว่าการทำงานของรังไข่ลดลงหรือไม่ หากมีภาวะดังกล่าวจะรักษาได้

โดยใช้ยารับประทานและการฉีดยาเพื่อเร่งประสิทธิภาพในการไข่ตก หรือใช้ยาหยอดจมูก

สำหรับสร้างความสมดุลของฮอร์โมน เพื่อช่วยให้ช่วงก่อนไข่ตกที่สั้นลงกลับมาอยู่ในสภาพปกติ


วิธีตรวจสอบว่ามีภาวะ Luteal phase defect หรือไม่

ทำได้โดยการตรวจวัดอุณภูมิร่างกายและการตรวจเลือด นอกจากนี้สามารถใช้คลื่นอัลตราซาวน์เพื่อดูเยื่อบุโพรงมดลูกและ Follicle เพื่อตรวจว่าง่ายต่อการฝังตัวหรือไม่

หากมีภาวะนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ยารับประทาน การฉีดยา และใช้ยาเร่งการไข่ตกเ พื่อทำให้ Follicle

เจริญเติบโตได้ตามปกติ นอกจากนี้จะมีการใช้ยาเสริมฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

และยาเสริมโกนาโดโทรฟิน (Gonadotrophins) ร่วมด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้าง Follicle ได้

ผลเสียต่อร่างกาย และวิธีการรักษาหากมีรอบเดือนสั้นกว่าปกติ

หากสังเกตได้ว่าตัวเองมีภาวะรอบเดือนสั้น หรือ ประจำเดือนมาบ่อย แนะนำให้เข้ารับการตรวจที่แผนกสูตินารี หากปล่อยให้การมีภาวะนี้ยืดเยื้อออกไป ทำให้มีความเสี่ยงต่อร่างกายเพิ่มสูงขึ้น

เป็นสาเหตุทำให้มีบุตรยาก หากการที่ประจำเดือนมาบ่อยมีสาเหตุมาจากภาวะ Short follicular phase คือระยะเวลาก่อนไข่ตกสั้นลง ทำให้ไข่ถูกปล่อยออกมาโดยที่ยังไม่สุกเต็มที่

เมื่อไข่ที่ถูกปล่อยออกมายังไม่สุก ก็จะไม่สามารถปฏิสนธิหรืออาจเกิดการแท้งได้ ในกรณีที่ระยะเวลาหลังไข่ตกสั้นลง ทำให้ Corpus luteum ทำงานได้ไม่ดี

ร่างกายผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้น้อย ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เจริญเต็มที่จะทำให้มีบุตรยากและแท้งง่าย นอกจากนี้การที่ประจำเดือนมาบ่อย อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจาง

เพราะเมื่อรอบเดือนสั้นก็จะมีประจำเดือน 2-3 ครั้งภายในระยะเวลา 1 เดือน ทำให้จำนวนครั้งของประจำเดือนในแต่ละเดือนเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณเลือดที่ออกก็จะมากขึ้นด้วย

และถ้าเกิดภาวะโลหิตจางเรื้อรัง จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี ส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้า เหนื่อยง่ายและอาจได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน


การรักษาหากประจำเดือนมาบ่อย หรือรอบเดือนสั้น

หากมีภาวะประจำเดือนมาบ่อยแต่ไม่มีอาการของภาวะโลหิตจางหรือภาวะเลือดออกผิดปกติร่วมด้วย อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่หากต้องการตั้งครรภ์ในอนาคตหรือมีความกังวล

แนะนำให้ปรึกษาสูตินารีแพทย์


วิธีตรวจสอบว่าตนเองมีภาวะ Short follicular phase หรือไม่

ทำได้โดยการตรวจวัดอุณภูมิร่างกาย เพื่อตรวจดูความยาวของระยะเวลาที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำ หรือตรวจเลือดเพื่อทดสอบว่า การทำงานของรังไข่ลดลงหรือไม่ หากมีภาวะดังกล่าวจะรักษาได้

โดยใช้ยารับประทานและการฉีดยาเพื่อเร่งประสิทธิภาพในการไข่ตก หรือใช้ยาหยอดจมูกสำหรับสร้างความสมดุลของฮอร์โมน เพื่อช่วยให้ช่วงก่อนไข่ตกที่สั้นลงกลับมาอยู่ในสภาพปกติ

สำหรับวิธีตรวจสอบทำได้โดยการตรวจวัดอุณภูมิร่างกายและการตรวจเลือด นอกจากนี้สามารถใช้คลื่นอัลตราซาวน์เพื่อดูเยื่อบุโพรงมดลูกและ Follicle เพื่อตรวจว่าง่ายต่อการฝังตัวหรือไม่

หากมีภาวะนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ยารับประทาน การฉีดยา และใช้ยาเร่งการไข่ตกเพื่อทำให้ Follicle เจริญเติบโตได้ตามปกติ นอกจากนี้จะมีการใช้ยาเสริมฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

และยาเสริมโกนาโดโทรฟิน (Gonadotrophins) ร่วมด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้าง Follicle ได้


โรคแอบแฝงจากการมีรอบเดือนสั้น หรือประจำเดือนมาบ่อย

การมีรอบเดือนสั้นหรือประจำเดือนมาบ่อย คือการที่มีรอบเดือนสั้นกว่า 24 วัน อาจมีโรคต่างๆแอบแฝงอยู่ เช่น ภาวะ Short follicular phase และภาวะ Luteal phase defect

ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ที่ประสงค์จะตั้งครรภ์และผู้ที่มีอาการโลหิตจาง การปล่อยให้อาการยืดเยื้อจะเป็นเรื่องอันตราย นอกจากนี้อาจเกิดความสับสนระหว่างอาการประจำเดือนมาบ่อย และเลือดออกผิดปกติ

ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ เช่น ติ่งเนื้อในมดลูกหรือมะเร็งมดลูก ดังนั้นหากเกิดอาการเหล่านี้ ควรเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

KEEP IN TOUCH WITH US

สาเหตุที่รอบเดือนสั้น และประจำเดือนมาบ่อย

สาเหตุที่รอบเดือนสั้น และประจำเดือนมาบ่อย สาเหตุที่รอบเดือนสั้น และประจำเดือนมาบ่อย