1. หน้าหลัก
  2. เคล็ดลับน่ารู้ สำหรับผู้หญิง
  3. ประจำเดือน วิธีการดูแลตัวเองของผู้หญิง
  4. ปริมาณรอบเดือนและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผู้หญิง

ปริมาณรอบเดือน ประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ โรคที่พบ ปริมาณรอบเดือน ประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ โรคที่พบ

ปริมาณประจำเดือนและสัญญาณบอกการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของสาวๆ

ปริมาณประจำเดือนและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

ปริมาณประจำเดือนของแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป จึงไม่สามารถเปรียบเทียบกับคนอื่นได้ บางครั้งก็มีปริมาณมากทำให้เลอะกางเกงชั้นใน

บางครั้งก็มีก้อนเลือดปะปนออกมาด้วย อย่างไรก็ตามประจำเดือนก็อาจเป็นสัญญาณแสดงถึงความเจ็บป่วยได้ เรามาเรียนรู้เพื่อตรวจสอบสภาพของประจำเดือนกันเถอะ

ปริมาณประจำเดือนของเราปกติหรือไม่

ความกังวลเกี่ยวกับประจำเดือนของสาวๆในกลุ่มตัวอย่าง

ประจำเดือนมีปริมาณมาก

คืนที่ 2 ของการมีประจำเดือน ประจำเดือนมามากจนต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนผ้าอนามัย

เพราะไม่สามารถทนได้จนถึงเช้า(คุณ Ronron อายุ 34 ปี)

โดยเมื่ออายุมากขึ้น ประจำเดือนแต่ละครั้งก็มากขึ้นด้วย แม้จะใช้ผ้าอนามัยสำหรับวันมามาก

ก็ต้องไปห้องน้ำทุกๆ 1 ชั่วโมง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงาน (คุณ Warp0320 อายุ 30 ปี)


ประจำเดือนมีปริมาณน้อย

ประจำเดือนมีลักษณะคล้ายกับรอยเปื้อนแล้วก็หมดไป (คุณ Arunrun ไม่ทราบอายุ)


มีลิ่มเลือด

*เมื่อเริ่มมีประจำเดือนช่วงวันที่ 2-3 ปริมาณจะเยอะและมีลิ่มเลือดออกมาด้วย แต่ไม่รู้สึกเจ็บ (คุณ Yutapon อายุ 22 ปี)


สีของประจำเดือน

ประจำเดือนมีสีน้ำตาล มากระปิดกระปอยต่อเนื่องกัน 10 วัน (คุณ Natu อายุ 20 ปี)


ปริมาณประจำเดือนแตกต่างกันในแต่ละเดือน

รู้สึกว่าปริมาณมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่เดือน (คุณ Miimii อายุ 33 ปี)

ปริมาณและลักษณะของประจำเดือนจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางครั้งก็มามาก

แต่บางครั้งก็มาน้อย ซึ่งเป็นเรื่องปกติ


กล่าวได้ว่า หลายคนอาจสงสัยเกี่ยวกับปริมาณประจำเดือนซึ่งมาแตกต่างกันในแต่ละรอบเดือน ทั้งนี้ จำนวนวันของประจำเดือนตามปกติจะมาประมาณ 3-7 วัน โดยปริมาณประจำเดือนใน 1 ครั้ง คือ 20 - 140 มล.

ปริมาณประจำเดือนของแต่ละคนมีความแตกต่างกันขึ้นกับสภาพร่างกายในขณะนั้น

แต่อย่างไรก็ตาม หากประจำเดือนมามากจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 1 ชั่วโมง หรือในทางกลับกันมีปริมาณน้อย จนไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยเลย ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการบางอย่างได้

ปริมาณประจำเดือนขึ้นอยู่กับแต่ละคน

ปริมาณประจำเดือนขึ้นอยู่กับแต่ละคนและแต่ละเดือนก็แตกต่างกันไป หากมีปริมาณประจำเดือนมากจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันก็จำเป็นต้องระมัดระวัง

ปริมาณประจำเดือนของแต่ละคนมีความแตกต่างกันตามสภาพของร่างกายหรือฮอร์โมน ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นคนคนเดียวกัน บางเดือนก็อาจจะมามากหรือบางเดือนก็อาจจะมาน้อย

จึงไม่จำเป็นต้องกังวล โดยทั่วไปประจำเดือนในวันที่ 2 และวันที่ 3 จะมีปริมาณมาก หลังจากนั้น จะค่อยๆ ลดลง หากประจำเดือนมามากในช่วงกลางวันจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 1 ชั่วโมง

หรือในช่วงกลางคืนที่ใช้ผ้าอนามัยซ้อนกันแล้วยังเลอะอยู่ อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติหรือมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น

จึงทำให้ปริมาณของเยื่อบุโพรงมดลูกและประจำเดือนมีมากขึ้น ทั้งนี้ถ้าปริมาณประจำเดือนเพิ่มขึ้นพร้อมกับอายุ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค เช่น เนื้องอกในมดลูก และ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่


ประจำเดือนมีลิ่มเลือด

การมีลิ่มเลือดปนมากับประจำเดือนเป็นอาการที่พบมากในผู้หญิงที่มีสุขภาพดี ประจำเดือนเกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งไม่ได้ถูกใช้งานหลุดลอกและถูกขับออกมาจากร่างกายพร้อมกับเลือดประจำเดือน

ซึ่งเมื่ออยู่ภายในร่างกายจะมีลักษณะเป็นก้อนแต่จากการทำงานของเอนไซม์ที่เยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้ถูกขับออกจากร่างกายในสภาพของเหลว ตามปกติแล้วจะไม่มีลักษณะเป็นก้อนออกมา

อย่างไรก็ตาม บางครั้งเมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมามีปริมาณมากทำให้เอนไซม์ทำงานไม่ทัน จึงมีประจำเดือนที่เป็นก้อนออกมาด้วย ซึ่งก้อนเหล่านี้ก็ดูเหมือนลิ่มเลือด

ภาวะดังกล่าวมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากฮอร์โมนผู้หญิงซึ่งทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตถูกผลิตออกมามาก สำหรับผู้หญิงอายุ 20-30 ปี ที่สุขภาพสมบูรณ์ ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด

แต่ถ้ามีลิ่มเลือดออกมาบ่อยมากอาจมีโรคต่างๆแอบซ่อนอยู่ เช่น เนื้องอกในมดลูก

การดูแลเมื่อปริมาณประจำเดือนมาก

ประจำเดือนมามากผิดปกติอาจทำให้เกิดอาการโลหิตจาง

การมีปริมาณประจำเดือนมาก คือ การที่เลือดภายในร่างกายถูกขับออกมาภายนอกร่างกายจำนวนมากอาจทำให้เกิดอาการโลหิตจาง ซึ่งส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้า เหนื่อยง่าย หน้าซีด หูอื้อ ใจสั่น หายใจหอบ ตาลาย หน้ามืด ช่วงที่มีประจำเดือนจึงควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก

เช่น ผักโขม ผักกวางตุ้งญี่ปุ่น และตับ หากประจำเดือนมามาก แนะนำให้พบสูตินารีแพทย์ เพื่อรักษาโดยการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำ ซึ่งจะช่วยให้ประจำเดือนเบาลง หรือรักษาด้วยการใช้ยาหยุดเลือด


โรคที่ควรระมัดระวังเมื่อมีปริมาณประจำเดือนมาก

การมีปริมาณประจำเดือนมาก เรียกว่า ประจำเดือนมาผิดปกติ หากเกิดในช่วงอายุ 10 ปีอาจเป็นผลจากฮอร์โมนผิดปกติแต่ไม่จำเป็นต้องกังวล

แต่ควรระวังอาการโลหิตจาง เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 20-30 ปี ประจำเดือนจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามอายุ

แต่อาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีโรคต่างๆแอบแฝงอยู่ เช่น เนื้องอกในมดลูก ซึ่งส่วนมากเป็นก้อนเนื้อชนิดดี และ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญอยู่ในกล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งเป็นโรคเซลล์ที่คล้าย

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เมื่ออาการลุกลาม นอกจากจะกระทบการใช้ชีวิตในช่วง

มีประจำเดือนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ

เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ การปวดท้อง และเป็นหมัน เมื่อรู้สึกว่า เริ่มมีอาการที่ไม่ปกติ เช่น ประจำเดือนค่อยๆมีปริมาณเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มอย่างรวดเร็ว แนะนำให้พบสูตินารีแพทย์


ปริมาณประจำเดือนน้อย

คนที่มีปริมาณประจำเดือนน้อยมาก รังไข่อาจทำงานได้ไม่ดี ก่อนอื่นควรใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นระบบ โดยคนที่มีปริมาณประจำเดือนน้อยมากจนไม่ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยเลย

แสดงว่าการผลิตฮอร์โมนลดลงและการทำงานของรังไข่ก็ไม่ดี

ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของอาการที่รังไข่ทำงานแย่ลงก็คือ ความเครียด

ดังนั้น จึงควรใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นระบบ รับประทานอาหารที่มีสารอาหารสมดุล นอนหลับ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ พยายามใช้ชีวิตโดยไม่สะสมความเครียด ทั้งนี้ อาจมีความเป็นไปได้ที่ไข่ไม่ตก

โดยไม่รู้ตัว

ดังนั้น จึงไม่ควรคิดว่าประจำเดือนมาน้อยเป็นเรื่องปกติ สาวๆควรบันทึกอุณหภูมิของร่างกาย

เพื่อทำให้รู้สภาพของฮอร์โมนและจะเป็นประโยชน์ในการเข้ารับการตรวจที่แผนกสูตินารี

อย่างไรก็ตาม คนที่มีปริมาณประจำเดือนน้อยอยู่แล้วหรือคนที่ใช้ยาคุมกำเนิด

ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นกังวล


ความแตกต่างของสีประจำเดือน

ประจำเดือนมีทั้งสีแดงสดและสีออกน้ำตาล จึงไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับสีที่เปลี่ยนแปลงไป

ในกรณีที่ประจำเดือนมีสีแดงอ่อน อาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีภาวะโลหิตจางเนื่องจากเฮโมโกลบินซึ่งทำให้เลือดมีสีแดงมีไม่เพียงพอ

นอกจากนี้ เมื่อเลือดเกิดการ Oxidation ก็จะมีสีดำขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่ประจำเดือนค้างอยู่ในช่องคลอดเป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยไม่ถูกขับออกมานอกร่างกายทำให้เลือดเกิดการ Oxidation นอกจากนี้

ก็อาจผสมกับตกขาว หรือระดูขาวทำให้มีสีออกน้ำตาลด้วย


ประจำเดือนหยุดกลางคัน

ประจำเดือนอาจหยุดกลางคันซึ่งเป็นอาการที่พบเจอได้จากโครงสร้างของมดลูก จึงไม่ต้องกังวล

บางคนประจำเดือนหยุดกลางคันและกลับมามีประจำเดือนใหม่ ซึ่งอาการดังกล่าวพบได้มากในคนที่มีมดลูกเอนไปข้างหลัง

นอกจากนี้ แม้ว่าตำแหน่งของมดลูกจะปกติแต่ประจำเดือนซึ่งค้างอยู่ด้านในของมดลูกหรือช่องคลอด

ก็อาจออกมาในช่วงหลังของประจำเดือนได้ ซึ่งอาการดังกล่าวไม่ใช่การมีประจำเดือนครั้งที่ 2

โรคที่พบได้จากอาการผิดปกติ

อาการเจ็บมากและมีปริมาณของประจำเดือนมากขึ้น คือ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก เลือดออกที่เชิงกรานด้านใน เป็นต้น

อาการเจ็บมากและมีระยะเวลาของประจำเดือนนานขึ้น คือ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก เลือดออกที่เชิงกรานด้านใน เป็นต้น

อาการเจ็บน้อย หรือเจ็บมากในบางครั้ง คือ เนื้องอกในมดลูก

KEEP IN TOUCH WITH US

ปริมาณรอบเดือนและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผู้หญิง

ปริมาณรอบเดือนและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผู้หญิง ปริมาณรอบเดือนและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผู้หญิง