1. หน้าหลัก
  2. เคล็ดลับน่ารู้ สำหรับผู้หญิง
  3. วาไรตี้ เรื่องเกี่ยวกับผู้หญิง
  4. วิธีการคำนวณรอบเดือนอย่างแม่นยำ

วิธีการนับรอบเดือน นับวันประจำเดือน ผ้าอนามัย รอบเดือนไม่สม่ำเสมอ คำนวณรอบเดือน วิธีการนับรอบเดือน นับวันประจำเดือน ผ้าอนามัย รอบเดือนไม่สม่ำเสมอ คำนวณรอบเดือน

เรียนรู้วิธีการคำนวณรอบเดือนและสาเหตุที่รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ

การคำนวณรอบเดือน

ร่างกายของผู้หญิงจะมีประจำเดือนประมาณ 1 ครั้งต่อ 1 เดือน โดยมีรอบเดือนประมาณ 25 -38 วัน หากรอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ

จะทำให้คาดการณ์ได้ยากว่าประจำเดือนครั้งต่อไปจะมาเมื่อไหร่ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น กำหนดการไปเที่ยว หรือการเล่นกีฬา

มาเรียนรู้วิธีการคำนวณรอบเดือนและสาเหตุที่รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอกันเถอะ

การมีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ

แม้ว่ารอบเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ หากเราเก็บข้อมูลการมีรอบเดือนบนแอพพลิเคชั่นหรือในสมุดบันทึก จะช่วยให้คาดเดารอบเดือนของตัวเองได้

ส่วนใหญ่การมีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ มีสาเหตุมาจากความเครียดและการใช้ชีวิตอย่างไม่สมดุล

แต่ก็มีโอกาสที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ด้วยเช่นกัน ดังนั้น เราควรสังเกต

และเข้าใจสภาพร่างกายของตัวเอง หากเกิดผิดปกติหรือความกังวลแนะนำพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

พร้อมนำข้อมูลการมีรอบเดือนของตัวเองประกอบการเข้ารับการตรวจและพยายามอธิบายให้แพทย์ทราบว่า รอบเดือนไม่สม่ำเสมออย่างไร มีปริมาณประจำเดือนแค่ไหน

และมีอาการไม่สบายอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม

สาเหตุที่รอบเดือนไม่สม่ำเสมอ

รอบเดือนของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ปกติรอบเดือนจะมีระยะเวลา 25-38 วัน แต่อย่างไรก็ตาม หากได้รับผลกระทบทางร่างกายหรือจิตใจ ก็อาจส่งผลให้รอบเดือนคลาดเคลื่อนไปได้

หรือต่อให้ไม่มีสาเหตุใดๆรอบเดือนก็มีโอกาสคลาดเคลื่อนไปบ้างได้เช่นกัน จึงไม่จำเป็นต้องกังวล แต่หากเลยกำหนดเกินกว่า 1 สัปดาห์ขึ้นไป อาจเป็นอาการประจำเดือนมาช้า

แต่ก็เกิดได้ตามปกติถ้าเพิ่งเริ่มมีประจำเดือนและรอบเดือนยังไม่คงที่ ซึ่งรอบเดือนจะมีความคงที่ขึ้นตามอายุ


รอบเดือนไม่คงที่ หรือ รอบเดือนไม่สม่ำเสมอ

มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่ไม่สมดุล เกิดขึ้นจากความเครียด การลดน้ำหนักอย่างหักโหม การนอนหลับไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารไม่สมดุล

และใช้ชีวิตอย่างไม่เป็นระบบ ในบางกรณีการมีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ มีสาเหตุมาจากปัญหาของรังไข่และมดลูก ถ้ามีไข่ตกทุกเดือนก็ไม่จำเป็นต้องกังวล แต่หากไม่มีไข่ตกก็ควรระวัง

แนะนำให้ปรึกษาสูตินารีแพทย์ ซึ่งหากปล่อยให้อาการไข่ไม่ตกเรื้อรังจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นหมันและโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิต (Lifestyle-related diseases)

นอกจากนี้ อาจทำให้มีอาการคล้ายกับช่วงวัยทอง เช่น ปวดหัว ตัวร้อน เป็นต้น

การคำนวณรอบเดือน

วิธีคำนวณรอบเดือนที่มาไม่สม่ำเสมอ

การนับรอบเดือนให้นับวันที่ประจำเดือนมาวันแรกเป็นวันที่ 1 จนถึงวันที่ประจำเดือนมาครั้งต่อไป

หากเป็นรอบเดือนที่สม่ำเสมอ สามารถใช้ค่าเฉลี่ยของข้อมูล 3 เดือน ก็จะคาดคะเนรอบเดือนถัดไปของตนเองได้ แต่ในกรณีที่มีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ แนะนำให้บันทึกข้อมูลอย่างน้อย 5 เดือน

เพื่อหาค่าเฉลี่ยของรอบเดือนตัวเอง


การบันทึกรอบเดือนสามารถบันทึกโดยใช้สมุดจดหรือบนแอพพลิเคชั่น

การใช้แอพพลิเคชั่นดูแลรอบเดือนเป็นวิธีที่สะดวกสบาย เพียงแค่บันทึกวันที่ประจำเดือนมาและวันที่ประจำเดือนหมด แอพพลิเคชั่นก็จะช่วยคำนวณรอบเดือนให้เรา ทำให้เรารู้กำหนดวันของประจำเดือน

ครั้งถัดไป นอกจากนี้ ยังสามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสภาพร่างกายและปริมาณของประจำเดือน

ของตัวเองได้ โดยข้อมูลดังกล่าวจะมีประโยชน์เมื่อกลับมาดูย้อนหลัง

ทำให้ทราบถึงสภาพร่างกายของตัวเอง

เมื่อมีอาการรอบเดือนไม่ปกติ แนะนำพบสูตินารีแพทย์

รอบเดือนไม่สม่ำเสมอมีหลายประเภท เช่น

  • ประจำเดือนมาบ่อย เรียกว่า การมีรอบเดือนสั้น คือการมีรอบเดือนต่ำกว่า 24 วัน โดยมีสาเหตุจากความเครียดที่ทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุลและการทำงานของรังไข่น้อยลง
    ทำให้ผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นหมันและการแท้งบุตรสูงขึ้น


ประจำเดือนมาน้อย เรียกว่า การมีรอบเดือนยาว

คือ การมีรอบเดือนนานกว่า 39 วัน โดยมีสาเหตุมาจากการทำงานของรังไข่ไม่เพียงพอ ทำให้การผลิตฮอร์โมนไม่สมดุล ถ้ายังมีไข่ตกก็สามารถมีบุตรได้ตามปกติ แต่หากไม่มีไข่ตก

ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นหมันเพิ่มขึ้น แต่หากประจำเดือนมาน้อยต่อเนื่องกันนานกว่า 1-2 เดือน ควรเข้ารับการตรวจสมดุลของฮอร์โมนเพราะอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับปริมาณของประจำเดือน

จนมีอาการโลหิตจางร่วมด้วย ในกรณีที่ปริมาณประจำเดือนมามาก มีโอกาสที่จะเป็นเนื้องอกในมดลูกหรือมะเร็งมดลูก แต่ในกรณีที่ปริมาณประจำเดือนมาน้อยก็อาจต้องใช้การรักษาด้วยฮอร์โมน

ในการเข้ารับการตรวจที่แผนกสูตินารี แนะนำให้นำข้อมูลสภาพร่างกายและปริมาณประจำเดือนของตัวเอง เพื่อประกอบการตรวจรักษา

KEEP IN TOUCH WITH US

วิธีการคำนวณรอบเดือนอย่างแม่นยำ

วิธีการคำนวณรอบเดือนอย่างแม่นยำ วิธีการคำนวณรอบเดือนอย่างแม่นยำ