ภาวะเลือดออกผิดปกติ ภัยเงียบที่ทำให้เกิดโรคเฉพาะของผู้หญิง
หากมีเลือดออกผิดปกติ เป็นอะไรไหม
โรคเฉพาะของผู้หญิงซึ่งเกิดจากอวัยวะเพศหรือความผิดปกติของฮอร์โมนเป็นเรื่องที่สาวๆไม่ค่อยกล้าที่จะปรึกษาคนอื่น เราจะมาแนะนำโรคที่ได้ยินกันบ่อย ๆ ได้แก่ ปากมดลูกอักเสบ เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ ปากมดลูกปลิ้น หากเรามีความรู้เกี่ยวกับโรคเหล่านี้
เมื่อมีอาการก็จะสามารถรับมือได้อย่างรวดเร็ว
โรคเกี่ยวกับมดลูก
อาการเลือดออกผิดปกติอาจเกิดจากการอักเสบในช่องคลอดหรือการติดเชื้อ และส่งผลมายังมดลูก
• ปากมดลูกอักเสบ
เป็นการอักเสบที่ปากมดลูกเนื่องจากการติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ เช่น คลาไมเดีย (Chlamydia) โรคหนองใน หรือการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งอยู่ภายในช่องคลอด
เช่น เชื้อ Staphylococcus เชื้อ E. coli สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบในช่องคลอดหรือการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
ในบางรายอาจติดเชื้อหลังคลอดบุตรหรือแท้งบุตรหรือติดเชื้อจากความไม่ระมัดระวังความสะอาดหลังทำแท้ง อาการในช่วงแรกจะมีตกขาว หรือระดูขาวเพิ่มมากขึ้น
เมื่ออาการแย่ลงก็จะปวดเอว รู้สึกเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ และอาจมีไข้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปากมดลูกอักเสบ จากการติดเชื้อคลาไมเดีย จะไม่ค่อยมีอาการ จึงต้องระวังเนื่องจากอาจกลายเป็
นอาการเรื้อรังได้
• เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ
สาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่เยื่อบุโพรงมดลูก เป็นการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อ Staphylococcus เชื้อ Mycobacterium tuberculosis
ซึ่งแตกต่างจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาจมีสาเหตุมาจากแผลที่เยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งเกิดขึ้นจากการทำแท้ง การแท้งบุตรหรือการคลอดบุตร การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่รักษาความสะอาด อาการของโรค
ได้แก่ มีตกขาว หรือระดูขาวซึ่งมีลักษณะคล้ายเลือดปนหนอง ปวดท้องน้อย ปวดเอวและมีไข้
โดยเฉพาะช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน ซึ่งเยื่อบุโพรงมดลูกจะไม่ค่อยแข็งแรง จึงควรระมัดระวังช่วงเวลาที่จะมีเพศสัมพันธ์
• ปากมดลูกปลิ้น
เมื่อเข้าสู่ช่วงที่มีการเจริญเติบโตทางเพศเต็มที่ ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของอายุ 20 ปีถึงช่วงอายุ 30 ปี ฮอร์โมนผู้หญิงจะถูกผลิตออกมามาก ทำให้ปากมดลูกเปิดออกและสามารถเห็นส่วนที่อยู่ข้างในได้
ซึ่งสภาพปลิ้นก็คือ การที่มดลูกมีลักษณะคล้ายดอกไม้ที่บานออกหันหน้าไปทางช่องคลอด
อาการของภาวะปากมดลูกปลิ้น จะมีตกขาว หรือระดูขาวที่มีเลือดปนอยู่และมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เป็นภาวะที่พบได้มากในผู้หญิงอายุ 20-30 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ฮอร์โมนถูกผลิตออกมามาก
และไม่ใช่อาการที่แปลกประหลาด โดยภาวะดังกล่าวไม่ใช่โรคร้าย
จึงไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่มีเลือดออก ในกรณีที่มีอาการเลือดออกผิดปกติ อาจใช้เลเซอร์กำจัดส่วนที่ปลิ้นออกมาได้ นอกจากนี้ บริเวณที่มีอาการปลิ้นอาจเกิดเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ง่าย ดังนั้น
แนะนำให้เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ
• ติ่งเนื้อที่ปากมดลูก
อาจมีบางคนที่ตกใจเมื่อมีเลือดออกจากการมีเพศสัมพันธ์ และเมื่อเข้ารับการตรวจก็พบว่ามีติ่งเนื้อ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของติ่งเนื้อที่ปากมดลูกร้อยละ 99 จะเป็นติ่งเนื้อดี
ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวล โดยติ่งเนื้อที่เนื้อเยื่อ คือ เนื้อเยื่อซึ่งมีจำนวนมากขึ้นและงอกออกมา มีขนาดเล็กตั้งแต่ขนาดไม่กี่มิลลิเมตรไปจนถึง 2-3 เซนติเมตร
เป็นอาการที่ไม่จำเป็นต้องรักษาแต่อย่างใด แต่หากเป็นกังวลเกี่ยวกับการมีเลือดออกก็สามารถผ่าตัดเอาติ่งเนื้อออกได้โดยง่าย ซึ่งจะเป็นการผ่าตัดที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
โรคของอวัยวะเพศภายนอกและช่องคลอด
• ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อที่ไม่จำเพาะ (Nonspecific vaginitis)
เป็นอาการที่เกิดการอักเสบในช่องคลอดเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียโดยทั่วไป เช่น เชื้อ E. coli เชื้อ Staphylococcus เชื้อ Streptococcus ซึ่งหากระบบการป้องกันตนเองในช่องคลอดอยู่ในสภาพปกติ
เชื้อเหล่านี้ก็จะไม่เพิ่มจำนวนขึ้น โดยอาการส่วนใหญ่ ได้แก่ ตกขาว หรือระดูขาวเพิ่มมากขึ้น มีสีเหลืองหรือสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็น และช่องคลอดบวมคัน
อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อไม่รักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอดและบริเวณภายนอกของอวัยวะเพศ หรือใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือผ้าอนามัยนานเกินไปโดยไม่เปลี่ยนใหม่
อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ การเสียสมดุลของฮอร์โมนทำให้ระบบป้องกันตนเองของช่องคลอดอ่อนแอลง การรักษาจะทำได้โดยรักษาตามเชื้อที่เป็นสาเหตุ
ซึ่งจะสามารถหายได้ภายในระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์หากใช้ยาเหน็บที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ
• ช่องคลอดอักเสบ
มีสาเหตุจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิง (ช่องคลอดอักเสบในผู้สูงอายุ) เป็นโรคที่พบได้มากในผู้หญิงหลังเข้าสู่วัยทอง หลังจากหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง
ทำให้ เนื้อเยื่อในช่องคลอดหดตัว ไม่มีความชุ่มชื้น ส่งผลให้ระบบป้องกันตนเองในช่องคลอดอ่อนแอลง จึงเกิดการอักเสบ
มีอาการตกขาว หรือระดูขาวสีชมพูหรือสีน้ำตาล รู้สึกเจ็บและมีเลือดออกเมื่อมีเพศสัมพันธ์ แม้ว่าในผู้ที่อายุยังน้อยแต่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาดหาย
อยู่ในช่วงลดน้ำหนัก หรือมีความเครียดมากก็อาจมีอาการนี้ได้ การรักษาจะใช้ยาเหน็บซึ่งมีฮอร์โมนเอสโตรเจน
• การอักเสบของอวัยวะเพศภายนอก
การอักเสบของอวัยวะเพศภายนอกเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอยู่ใกล้ทวารและท่อปัสสาวะเป็นส่วนที่เกิดการอักเสบได้ง่าย การรักษาจะต้องหาเชื้อที่เป็นสาเหตุและใช้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้แพ้
ยาลดการอักเสบและอาจต้องใช้ยาทาแก้คันหรือยา Corticosteroids ในการรักษาด้วย
การอักเสบของอวัยวะเพศภายนอกซึ่งไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ มีสาเหตุมาจากการเสียดสีกับชุดชั้น
แพ้สบู่หรือสารเคมี ภูมิแพ้ การเสียดสีระหว่างขาเนื่องจากภาวะอ้วน และโรคเบาหวาน เราจึงควรรักษาความสะอาดของจุดซ่อนเร้น และใช้น้ำยาทำความสะอาดเฉพาะสำหรับผิวบอบบาง
นอกจากนี้ เมื่อเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลงทำให้อวัยวะเพศภายนอก ส่วน Perineum และรอบทวาร หดตัวและบางลง ก่อให้เกิดอาการคันจากความแห้งจึงเกิดการอักเสบได้
อาการเหล่านี้เรียกว่า การอักเสบของอวัยวะเพศภายนอก ซึ่งไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ หากสามารถทราบสาเหตุก็สามารถบรรเทาอาการด้วยการใช้ยาทาแก้คัน
• ต่อมบาร์โธลินอักเสบ
เป็นการอักเสบและมีของเหลวอุดตันอยู่ภายในต่อมบาร์โธลินซึ่งอยู่ข้างซ้ายและขวาของปากช่องคลอด หาก การอักเสบรุนแรงก็จะมีเลือดปนหนองออกมาและรู้สึกเจ็บปวดมาก
การรักษาจะใช้ยาปฏิชีวนะ แต่หากเกิดอาการอักเสบซ้ำหลายครั้งก็จะต้องกรีดเอาหนองออกและเย็บแผล
• มดลูกย้อย มดลูกหย่อน
มดลูกย้อยส่วนใหญ่เป็นอาการที่พบได้หลังจากเข้าสู่วัยทอง เป็นสภาพที่กล้ามเนื้อเชิงกรานซึ่งคอยพยุงมดลูกไว้อ่อนกำลังลงและย้อยลงมา หากอาการหนักขึ้นมดลูกจะหย่อนออกมาทางช่องคลอด
และสามารถสัมผัสได้โดยมีความรู้สึกคล้ายมีก้อนเนื้อที่อวัยวะเพศภายนอก ในกรณีที่อาการไม่หนักจะใช้การรักษาโดยการสอดอุปกรณ์ Pessary แต่หากอาการหนักก็จำเป็นที่จะต้องผ่าตัด
โรคที่เกี่ยวกับไทรอยด์ฮอร์โมน
ไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นตัวช่วยเร่งการเผาผลาญในร่างกาย ต่อมไทรอยด์มีตำแหน่งอยู่ที่บริเวณข้างซ้ายและขวาใต้ลูกกระเดือก
มีลักษณะคล้ายผีเสื้อกางปีกออก เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยปรับระบบของร่างกาย เช่น เร่งการเผาผลาญของร่างกาย หากการทำงานของ
ต่อมไทรอยด์ลดลงหรือทำงานมากจนเกินไป ก็จะส่งผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนผู้หญิง และส่งผลให้เกิดประจำเดือนมาไม่ปกติได้
• ภาวะที่ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism)
เป็นโรคที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ โรคเกรฟส์ (Graves' disease) ซึ่งเป็นโรคที่พบได้มากในผู้หญิง
ส่วนใหญ่จะมีอาการ ใจสั่น เหนื่อยหอบ มือสั่น น้ำหนักตัวลด คอพอก หงุดหงิด ตาโปนประจำเดือนมาบ่อย พบได้มากในผู้หญิงอายุ 20-30 ปี
ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ มีวิธีการรักษาโดยจะใช้ยาต้านการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมน แร่ไอโอดีน 131 (Radioactive iodine) หรือวิธีผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์บางส่วนออก
• ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyreosis)
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำเป็นภาวะตรงกันข้ามกับภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เป็นภาวะที่ไทรอยด์ฮอร์โมนถูกผลิตออกมาไม่เพียงพอ
โรคที่เห็นได้ชัด คือ โรค Hashimoto's disease ซึ่งโรคนี้ก็มักพบในผู้หญิงเช่นกัน โดยผู้ป่วยหญิงมีจำนวนประมาณ 10-20 เท่าของผู้ป่วยชาย
มีอาการส่วนใหญ่ ได้แก่ เหนื่อย มือและเท้าเย็น ผิวหนังแห้ง ท้องผูก เบื่อหน่าย พบมากในผู้หญิงอายุ 20 ปีตอนปลายจนถึง 50 ปี
อาการเหล่านี้อาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของช่วงวัยทอง โรคนี้มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรมเช่นกัน
สำหรับการรักษา จะเป็นการรับประทานไทรอยด์ฮอร์โมน หากมีอาการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แนะนำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ