รับมือกับอาการผิดปกติ และวิธีดูแลตัวเองเมื่อเข้าสู่วัยทอง
รับมือกับอาการเมื่อเข้าสู่ 'วัยทอง'
ผู้หญิงหลายคนอาจจะเป็นกังวลเรื่องการเข้าสู่วัยทอง ซึ่งอาการหมดประจำเดือนของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป บางคนก็ไม่มีอาการ)แต่บางคนก็มีอาการ เช่น เลือดออกผิดปกติ ดังนั้นมาเรียนรู้ และเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยทอง
การเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน
อาการที่มักจะเกิดขึ้นเมือมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัยคืออะไร
- ช่วงเริ่มมีประจำเดือน
ฮอร์โมนผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันทำให้ร่างกายและจิตใจอ่อนไหว - ช่วงายุ 20-30ปี
เป็นช่วงที่ฮอร์โมนผู้หญิงเพิ่มขึ้นมากที่สุดทำให้เกิดความเสี่ยงหลายประการ - ช่วงอายุ 40-50ปี
ฮอร์โมนเพศหญิงลดลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ
ความหมายของวัยทอง และ สิ่งที่ต้องระวังเมื่อเข้าสู่วัยทอง
วัยทอง คืออะไร
วัยทองคือช่วงระยะเวลา 5 ปีก่อนและหลังที่จะหมดประจำเดือน ผู้หญิงในปัจจุบันมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 50.5 ปี ดังนั้น ช่วงอายุ 45 - 55 ปีจะเป็นช่วงวัยทอง เมื่อผู้หญิงเข้าสู่ช่วงอายุดังกล่าว
การทำงานของรังไข่จะลดลงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างมาก รังไข่เป็นอวัยวะที่มีเฉพาะในผู้หญิง เมื่อเข้าสู่อายุที่สามารถตั้งครรภ์ได้สมองก็จะสั่งการให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนผู้หญิง 2 ชนิด
ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเอสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างความเป็นผู้หญิงทั้งภายนอกและภายใน จากการผลิตฮอร์โมนดังกล่าวทำให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์หรือทำให้เกิดประจำเดือน
เมื่อเข้าสู่วัยทองการทำงานของรังไข่จะลดลงทำให้การผลิตฮอร์โมนไม่เสถียร
เมื่อการผลิตฮอร์โมนเปลี่ยนไปก็จะส่งผลให้รอบเดือนไม่แน่นอนไปด้วย ตามปกติแล้วค่าเฉลี่ยของรอบเดือนจะอยู่ที่ 25 - 38 วัน แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละคน เมื่อเข้าใกล้วัยทองรอบเดือนจะมีการเปลี่ยนแปลง หากรอบเดือนมีระยะเวลาสั้นกว่า 24 วัน เรียกว่า ประจำเดือนมาบ่อย (Polymenorrhea) และหากรอบเดือนมีระยะเวลา 39 วันขึ้นไปเรียกว่า ประจำเดือนมาน้อย (Oligomenorrhea)
ในช่วงวัยทองไม่เพียงแต่ระยะเวลาของรอบเดือนเท่านั้น แต่ปริมาณของประจำเดือนก็จะมีการเปลี่ยนแปลงด้วย และหากประจำเดือนไม่มาเป็นเวลานานกว่า 1 ปีก็จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
สิ่งที่ต้องระมัดระวังหากมีภาวะเลือดออกผิดปกติในช่วงวัยทองคืออะไร
เมื่อเข้าสู่วัยทองการทำงานของรังไข่จะเริ่มเสื่อมสภาพลง บางครั้งอาจเกิดอาการเลือดออกผิดปกติ หรือลักษณะของประจำเดือนแตกต่างจากปกติไป ซึ่งอาการดังกล่าวยากต่อการวินิจฉัยว่ามีสาเหตุมาจากการเข้าสู่วัยทอง หรือมีสาเหตุมาจากโรคร้ายอื่นๆที่แอบซ่อนอยู่
ภาวะเลือดออกผิดปกติ
คือสภาพที่มีเลือดออกมาจากอวัยวะเพศโดยที่ไม่ได้มีประจำเดือน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เลือดที่ออกมาเนื่องจากอวัยวะภายในและเลือดที่ออกมาจากการทำงานของร่างกาย
เลือดที่ออกมาจากการทำงานของร่างกาย
เลือดที่ออกมาจากการทำงานของร่างกายเกิดขึ้นจากการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ เป็นสภาพที่มีเลือดออกมาแม้ว่าจะไม่ได้มีประจำเดือน เมื่อเข้าสู่วัยทองการทำงานของรังไข่จะลดลง
ทำให้การผลิตฮอร์โมนไม่เสถียร จึงเกิดภาวะประจำเดือนผิดปกติได้ง่าย ในกรณีที่มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เลือดที่ออกมาเนื่องจากอวัยวะภายใน
เลือดที่ออกมาเนื่องจากอวัยวะภายในเกิดจากความผิดปกติของมดลูกและช่องคลอดซึ่งทำให้มีเลือดออกมา อาจมีโรคร้ายรวมอยู่ด้วย ดังนั้นเมื่อเข้าสู่วัยทองและมีเลือดออก
โดยที่ไม่ใช่ประจำเดือนจะต้องระมัดระวังเพราะอาจเป็นโรคร้ายแรง เช่น มะเร็งมดลูก จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที
ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งมดลูกก็เป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อเข้าสู่วัยทอง การผลิตฮอร์โมนจะไม่เสถียร ซึ่งอาจจะมีเลือดออกเล็กน้อยเป็นสีน้ำตาลเลอะชุดชั้นในคล้ายกับตกขาว หรือมีเลือดออกเป็นสีแดงสดจนจำเป็นต้องใช้ผ้าอนามัย หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที
โรคที่เกี่ยวข้องกับมดลูกที่จำเป็นต้องระมัดระวังมากที่สุด
มีสองประเภทคือ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งมดลูกซึ่งเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก ส่วนมะเร็งมดลูกเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นภายในมดลูก โดยมะเร็งมดลูกเกิดขึ้นง่ายในผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
เพราะคนที่เข้าสู่วัยทองแล้วมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการรับประทานอาหารแบบชาวตะวันตก อาการในระยะแรกส่วนใหญ่มักจะมีเลือดออกผิดปกติ ดังนั้นหากพบว่ามีเลือดออกในช่วงวัยทอง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว) ให้สงสัยไว้ก่อนว่า อาจเป็นมะเร็งมดลูกและเข้ารับการตรวจรักษาทันที มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งมดลูกหากตรวจพบในระยะแรก
ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญก็คือ การสังเกตตัวเองและปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ
วิธีรับมือกับภาวะเลือดออกผิดปกติ
การออกกำลังกาย และไม่เครียดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับวัยทอง
ช่วงวัยทองเป็นช่วงที่จะมีอาการที่ไม่พึงประสงค์รวมถึงภาวะเลือดออกผิดปกติเกิดขึ้นได้ง่าย การปรับปรุงการใช้ชีวิตประจำวันจะช่วยบรรเทาอาการและช่วยป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงได้ ดังนั้น ขอให้ใช้วิธีที่จะแนะนำต่อไปนี้ให้เป็นประโยชน์
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพออาจทำให้อาการแย่ลงได้ ช่วงกลางคืนสิ่งสำคัญก็คือ การนอนหลับพักผ่อน ดังนั้น ในช่วงระหว่างวันควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและในช่วงกลางคืนก็ไม่ควร
รับประทานคาเฟอีนมากจนเกินไป
พยายามนอนและตื่นให้เร็วเพื่อปรับระบบของร่างกาย พยายามอาบแดดตอนเช้าเพื่อปรับระบบนาฬิกาภายในร่างกายซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึง การผลิตฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้นได้ด้วยผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
เช่น เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ มี Isoflavones อยู่ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน
ดังนั้น การรับประทานอาหารอย่างสมดุลและรับประทานอาหารจำพวกถั่วเหลืองก็จะช่วยบรรเทาอาการลงได้
ทำให้เลือดไหลเวียนดี
การทำให้เลือดไหลเวียนดีจะต้องออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ การออกกำลังกายไม่เพียงแต่ให้ผลดีต่อร่างกายเท่านั้น มันยังให้ผลดีต่อจิตใจด้วย เพียงแค่ออกกำลังกายเบาๆ
ง่ายๆ เช่น เดิน, ปั่นจักรยาน ก็เพียงพอแล้ว
นอกจากนี้ การกดจุดบริเวณตาตุ่มซึ่งมีประสิทธิภาพต่ออาการประจำเดือนมาไม่ปกติหรือปวดประจำเดือน โดยกดเพียงเบา ๆ ก็สามารถช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นได้
ใช้นิ้วก้อยทาบบริเวณที่เหนือตาตุ่มขึ้นมา 4 นิ้ว บริเวณนิ้วชี้จะเป็นตำแหน่งของจุดดังกล่าว
ไม่สะสมความเครียด
ควรหาเวลาทำกิจกรรม เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูหนัง Shopping หรือทำสิ่งที่ตัวเองชอบเพื่อคลายเครียด
ทำอย่างไร หากมีเลือดออกผิดปกติในวัยทอง
สำหรับวัยทองให้ระมัดระวังการมีเลือดออกผิดปกติหลังหมดประจำเดือน เมื่อเข้าสู่วัยทองการทำงานของรังไข่จะเริ่มเสื่อมสภาพลง
ทำให้การผลิตฮอร์โมนไม่เสถียรอาจส่งผลให้รอบเดือนมาไม่ปกติ หากเมื่อหมดประจำเดือนแล้ว แต่ยังมีเลือดออก ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที