การขาดประจำเดือนเร็วกว่าปกติ เรื่องที่สาววัย30ขึ้นไปควรให้ความสนใจ
สาเหตุที่ประจำเดือนไม่มา
การที่ประจำเดือนไม่มาทางการแพทย์เรียกว่า การขาดประจำเดือนหรือการขาดระดู (Amenorrhea) โดยปกติแล้วช่วงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรก็จะไม่มีประจำเดือน แต่ในกรณีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์และไม่ได้อยู่ในช่วงอายุที่จะหมดประจำเดือนแต่ประจำเดือนกลับไม่มา อาจมาจากหลายสาเหตุเช่น ความเครียดหรือการลดน้ำหนักอย่างหักโหม หากประจำเดือนขาดเป็นระยะเวลานาน ก็จะต้องใช้เวลาในการรักษานานขึ้น ซึ่งอาจจะมีโรคแอบแฝงอยู่ด้วย ดังนั้น จึงแนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ประเภทและสาเหตุของการขาดประจำเดือน
การที่ประจำเดือนหายไปเป็นระยะเวลานานกว่าปกติ อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้
เกิดขึ้นได้ในกลุ่มคุณแม่ในช่วงระยะเวลาตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
เป็นภาวะประจําเดือนไม่มาตามธรรมชาติ (Physiologic secondary amenorrhea) แต่หากประจำเดือนหยุดไปโดยไม่ทราบสาเหตุ เรียกว่า การขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ (Secondary amenorrhea) หมายถึง ภาวะขาดประจำเดือนหรือระดูนานมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน (3 รอบของรอบระดูที่เคยมีมาก่อน) อาจเกิดจากการทำงานของ Hypothalamus Hypothesis และรังไข่ผิดปกติ
การขาดประจำเดือนอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นๆ ทั้งทางร่ายกายและจิตใจ
• การขาดประจำเดือนเนื่องจากความเครียด (สาเหตุทางจิตใจ)
ความเครียด คือสาเหตุหลักที่เกี่ยวข้องกับการที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือการขาดประจำเดือน
• การขาดประจำเดือนจากการลดน้ำหนักอย่างหักโหม (สาเหตุทางร่างกาย)
การลดน้ำหนักอย่างหักโหมเป็นสาเหตุหนึ่งในการขาดประจำเดือนโดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงอายุน้อย จากการที่ร่างกายขาดสารอาหารส่งผลให้รังไข่ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจึงเกิดเป็นภาวะขาดประจำเดือน ช่วงวัยรุ่นเป็นวัยที่ระบบของร่างกายยังไม่เจริญเติบโตสมบูรณ์ จึงต้องระมัดระวังภาวะการขาดประจำเดือนจากการลดน้ำหนักอย่างหักโหม เพราะอาจส่งผลให้เกิดปัญหาตั้งครรภ์ยาก
ในอนาคตและอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้
• ภาวะการขาดประจำเดือนเนื่องจากการออกกำลังกายอย่างหักโหม (สาเหตุทางร่างกาย)
ภาวะการขาดประจำเดือนสามารถพบได้มากในนักกีฬาที่ออกกำลังกายอย่างหักโหม เช่น กีฬาวิ่งมาราธอนหรือยิมนาสติก หากเล่นต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานก็เทียบเท่ากับการลดน้ำหนักอย่างหักโหม
โดยจะส่งผลให้อวัยวะสืบพันธุ์ทำงานผิดปกติ
การหมดประจำเดือนเมื่อเข้าสู่ 'วัยทอง'
การหมดประจำเดือน อาจเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติได้เช่นกัน
โดยปกติการหมดประจำเดือนจะอยู่ในช่วงอายุเฉลี่ย 50-51 ปี ในสังคมปัจจุบันที่คนมีความเครียดสูงอาจส่งผลให้คนหมดประจำเดือนเร็วขึ้นกว่าปกติ
บางครั้งอาจจะหมดประจำเดือนตั้งแต่ช่วงอายุ 30 ปี ส่งผลให้ไม่สามารถตั้งครรภ์หรือมีบุตรได้ อีกทั้งจะมีความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงมากกว่าคนทั่วไป ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ง่าย
ตลอดจนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอื่น ๆด้วย สำหรับผู้หญิงโดยทั่วไปแม้ว่าจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง แต่เมื่ออายุเกิน 30 ปีแล้ว
รังไข่ก็จะเริ่มเสื่อมสภาพลง ทำให้การทำงานของรังไข่ลดลงและปริมาณการหลั่งของฮอร์โมนลดลงไปด้วย ดังนั้น หากเทียบกับช่วงอายุ 20 ปี จะพบว่ามีปริมาณประจำเดือนลดลงกว่าเดิม
โดยอายุเฉลี่ยของการที่ประจำเดือนเริ่มไม่ปกติคือ 48.1 ปี และอายุเฉลี่ยของการหมดประจำเดือนคือ 50.5 ปี
กรณีที่มีสาเหตุมาจากความเจ็บป่วย
บางครั้งภาวะขาดประจำเดือนมีสาเหตุมาจากความเจ็บป่วย เช่น ภาวะระดับโปรแลคตินสูง (Hyperprolactinemia) ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โรคที่เกี่ยวกับมดลูก เป็นต้น หากไม่มีปัจจัยเสี่ยงเรื่องความเครียดหรือการลดน้ำหนักอาจเป็นผลมาจากความเจ็บป่วยของร่างกาย
วิธีการรักษาของสูตินารีแพทย์
หากปล่อยให้ภาวะขาดประจำเดือนยืดเยื้อเป็นเวลานาน ในกรณีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์แต่มีภาวะขาดประจำเดือนต่อเนื่องกันตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป อาจส่งผลให้การรักษาทำได้ยากขึ้น ดังนั้นควรพบสูตินารีแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม หากสาเหตุเกิดจากความไม่สมดุลของการหลั่งฮอร์โมน ซึ่งปกติจะมี 2 ระดับ ได้แก่
- ในกรณีที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนทำงานผิดปกติ (ภาวะขาดประจำเดือนครั้งแรก) ก็จะรักษาโดยใช้แค่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
- ภาวะขาดประจำเดือนระยะยาวซึ่งการทำงานของรังไข่หยุดไปแล้วทำให้การหลั่งของฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่เพียงพอ (ภาวะขาดประจำเดือนครั้งที่สอง) ก็จะต้องใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนควบคู่กันไป ซึ่งนอกจากการรักษาด้วยฮอร์โมนแล้วอาจมีการรักษาโดยใช้ยาสมุนไพรควบคู่กันไปด้วย