1. หน้าหลัก
  2. เคล็ดลับน่ารู้ สำหรับผู้หญิง
  3. PMS
  4. PMS และ PMDD สองคำนี้เกี่ยวอะไรกับประจำเดือน

PMS และ PMDD สองคำนี้เกี่ยวอะไรกับประจำเดือน

PMS และ PMDD สองคำนี้เกี่ยวอะไรกับประจำเดือน PMS และ PMDD สองคำนี้เกี่ยวอะไรกับประจำเดือน

อาร์ตตัวแม่ หงุดหงิดง่าย ร้องไห้บ่อย ปวดหัวตัวร้อนไข้ขึ้น ตัวบวมท้องอืด ช่วงสัปดาห์ก่อนประจำเดือน อาการเหล่านี้ สาวๆเป็นสัญญาณบอกว่าประจำเดือนกำลังจะมา ซึ่งอาการแบบนี้ทางการแพทย์เค้าเรียกว่า อาการก่อนเป็นประจำเดือน หรือ Premenstrual Syndrome หรือ PMS

รู้จัก PMS กันอีกนิด

หลายคนไม่รู้ว่า PMSเป็นอาการที่เกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ผู้หญิงส่วนใหญ่คิดว่า “จำเป็นต้องเป็น” และหายเองได้โดยไม่จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ หรือไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะไม่มีทางแก้ไข ต้องรอจนอาการเหล่านี้หายไปเอง การแก้ไขส่วนใหญ่จึงเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ เช่นกินยาแก้ปวด ดื่มน้ำอุ่น

อาการของ PMS

PMS มีทั้งอาการที่แสดงออก ทางร่างกายและทางอารมณ์ โดยทางร่างกายได้แก่ ท้องอืด ปวดท้อง ตะคริว ปวดศีรษะ อยากอาหาร กินจุ อ่อนเพลีย ปวดตามข้อต่อและกล้ามเนื้อ นอนไม่หลับ คัดหน้าอก ส่วนอาการที่แสดงออกทางอารมณ์ได้แก่ อาการขี้หงุดหงิด ขี้รำคาญ อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล ซึมเศร้า หดหู่ รู้สึกไร้ค่า ซึ่งอาการเหล่านี้ มักเกิดขึ้นในช่วง 7-10 วันก่อนมีประจำเดือน และจะหายไปเมื่อมีประจำเดือนได้ 2-3 วัน

รู้จัก PMDD ให้มากขึ้น

ส่วน PMDD นั้น คือกลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน หรือ Premenstrual dysphoric disorder คือ อาการผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และ/หรืออารมณ์อย่างรุนแรง โดยสัมพันธ์กับก่อนการมีประจำเดือน เช่น เครียดจัด หงุดหงิดมาก โมโหร้าย หรือซึมเศร้าอย่างมาก

อาการของ PMDD

PMDD มีการแสดงอาการหลายอย่าง เช่น ซึมเศร้าอย่างมาก อยากฆ่าตัวตาย ร้องไห้บ่อยๆ โมโหร้าย นอนไม่หลับ ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่มีสมาธิหรือสมาธิสั้น บวมตามตัว บวม คัดหน้าอกอย่างมากหรือปวดศีรษะอย่างมากเป็นต้น ซึ่งอาการ PMDD นั้นจะพบเพียง 2-10% จากจำนวนหญิงที่มีประจำเดือนทั้งหมด

สาเหตุของ PMDD คืออะไรนะ

การเกิด PMDD นั้น 

  1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงครึ่งหลังของรอบเดือน โดยเฉพาะในรอบเดือนที่มีการตกไข่ (ในสตรี วัยเจริญพันธุ์จะมีประจำเดือนทุก 28-30 วัน การตกไข่จะเกิดขึ้น 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือนครั้งถัดไป และบ่อยครั้งก็มีประจำ เดือนได้โดยไม่มีการตกไข่)
  2. ความเครียด
  3. มีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อชีวิต
  4. มีการลดลงของสาร Serotonin ในร่างกาย ซึ่งเป็นสารสำคัญของการรับส่งกระ แสประสาท (Neurotransmitter) และสัมพันธ์กับภาวะทางอารมณ์/จิตใจ เช่น ความหงุด หงิด และความโกรธ

นอกจากนี้ ภาวะเครียด ภาวะซึมเศร้า และ กรรมพันธุ์ล้วนมีผลกับอาการเหล่านี้อีกด้วย


สำหรับแนวทางในการรักษา แพทย์จะให้ยาคลายเครียด ลดอาการซึมเศร้า ยาคุมหรือยาปรับฮอร์โมน รวมทั้งยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

การบรรเทาอาการ PMS/PMDD

อาศัยการดูแลตัวเองแบบพื้นฐาน เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ กินผักผลไม้ให้มากขึ้น ลดอาหารหวานจัดเค็มจัด ชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ ก็ช่วยให้ห่างไกล หรือบรรเทาอาการของโรค PMS และ PMDD ได้ แต่ถ้าหากเป็นมากควรปรึกษาแพทย์

บางทีเรื่องที่เราคิดว่าเล็กๆน้อยๆ หรือบางอย่างที่เราคิดว่า แก้ไม่ได้หรอก ถ้าเราใส่ใจ ไม่มองข้าม ปัญหาทุกอย่างก็มีทางแก้นะจ๊ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

You might be interested in the articles related to following keywords: